การประเมินความก้าวหน้าการละสังโยชน์ของผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐาน

Main Article Content

ภราดี บุตรศักดิ์ศรี
พระมหาอภิเดช สติวโร
บุญเลิศ โอฐสู

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสังโยชน์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา 2) ศึกษาการละสังโยชน์กับการเจริญวิปัสสนากรรมฐานในคัมภีร์พระพุทธศาสนา และ 3) ศึกษาการประเมินความก้าวหน้าการละสังโยชน์ของผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐาน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสารในคัมภีร์พระพุทธศาสนาร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกจากพระวิปัสสนาจารย์ และผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐาน


ผลการศึกษา พบว่า 1) สังโยชน์ เป็นธรรมที่ผูกมัดสัตว์ให้ติดอยู่ในวงจรแห่งทุกข์ มี 10 ประการ  ได้แก่ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามราคะ ปฏิฆะ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชา แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ สังโยชน์เบื้องต่ำ หมายถึง สังโยชน์ที่นำพาสัตว์ไปเกิดในรูปาวจรภูมิ มี 5 ประการ ได้แก่ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามราคะ และปฏิฆะ กับสังโยชน์เบื้องสูง หมายถึง สังโยชน์ที่นำพาสัตว์ไปเกิดในอรูปาวจรภูมิ มี 5 ประการ ได้แก่ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะและอวิชชา  


      2) หลักธรรมที่สัมพันธ์กับการละสังโยชน์ ได้แก่ โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ ประกอบด้วย สติปัฏฐาน 4  สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4  อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 มรรคมีองค์ 8 และการพิจารณาไตรลักษณ์ของขันธ์ 5 โดยแนวทางการปฏิบัติสำหรับละสังโยชน์ทั้ง 10 ประการ ได้แก่ การเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน


3) ความก้าวหน้าในการละสังโยชน์ของผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐานเป็นไปตามลำดับ ดังนี้ ผู้เจริญสติปัฏฐาน มีสติอยู่ที่อารมณ์กรรมฐาน แยกรูปแยกนามออกจากกัน เห็นความเป็นไตรลักษณ์ของขันธ์ 5 หรือรูปนาม และเกิดวิปัสสนูปกิเลส อาการทั้ง ๔ นี้ จะปรากฏขึ้นตามลำดับ ซึ่งแสดงถึงความก้าวหน้าของการละสังโยชน์ในเบื้องต้น เมื่อเจริญสติปัฏฐานอย่างต่อเนื่อง จะเป็นแนวทางที่จะนำไปสู่การละสังโยชน์เป็นสมุจเฉทได้ในที่สุด โดยมีหลักปฏิบัติคือมรรค 8 สรุปเป็นสิกขา 3 คือ ศีล สมาธิและปัญญา ซึ่งมีอยู่พร้อมในสติปัฏฐาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Buakruen, P. (2019). Insight meditation practitioner. Interview. March, 24.

Buakruen, S. (2019). Insight meditation practitioner. Interview. March, 24.

Buddhadasa Bhikkhu. (1972). Five aggregates: the basement of selfishness. Bangkok: Thammasapa.

Buddhaghosa Thera. (2011). Visuddhimagga scripture. (11th ed.). Translated by Somdet Phraphutthachan (Aach Asabhamahathera). Bahgkok: Tanapress.

Dinkoa, A. (2019). Insight meditation practitioner. Interview. April, 26.

Eimcherangkura, A. (2019). Insight meditation practitioner. Interview. April, 2.

Mahachulalongkornrajavidhalaya University. (1996). Thai Tipitakas. Bangkok: MCU Press.

Pattamanon, T. (2019). Insight meditation practitioner. Interview. April, 2.

Phra Amnaj Khantiko. (2019). Meditation Master of Wat Bhaddhanta Asabharam. Interview. March, 26.

Phra Dhammatheerarachamahamunī (Jodok Yanasiddhi). (2007). Lecture on insight meditation. (1st ed.). Bangkok: Prayoorawong Printing.

Phra Rajasitthimunī. (2019). Director of Vipassana Meditation Institute at Mahachulalongkornrajavidhalaya University. Interview. April, 2.

Phra Thepsiddhimunī (Jodok Yanasiddhi). (1998). Manual for Meditation Interview. (3rd ed.). Bangkok: Mahachulalongkornrajavidhalaya Press.

Phra Yongyos Thitasamvaro. (2019). Meditation Master of Wat Panyanantaram. Interview. March, 24.

Phrakru Bhavanasarabuṇḍit. (2019). Director of Dhamma Communication Division at Mahachulalongkornrajavidhalaya University. Interview. April, 10.

Phrakru Mongkolsilawatara. (2019). Meditation Master of Section 5 at Wat Mahathat Yuwarat Rang Sa Rit Racha Woramahawihan. Interview. April, 1.

Phramaha Chalerm Piyatassi. (2019). Abbot of Wat Panyanantaram. Interview. March, 31.

Phramongkol Theeragun. (2019). Director of Dhammaduta College at Mahachulalongkornrajavidhalaya University. Interview. April, 11.

Pleakvisutthi, S. (2019). Insight meditation practitioner. Interview. March, 24.

Saenchaichana, S. (2019). Insight meditation practitioner. Interview. April, 2.

Somdet Phra Buddhakosajarn (P.A.Payutto). (2016). Buddhadhamma: the laws of nature and their benefits to life. 48thed. Bangkok: Pli-dham Press.

Somdet Phra Buddhakosajarn (P.A.Payutto). (2016). Dictionary of Buddhism. (38th ed.). Bangkok: Pli-dham Press.

Somdet Phra Buddhakosajarn (P.A.Payutto). (2016). Dictionary of Buddhist Terms. (30th ed.). Bangkok: Pli-dham Press.

Venerable Mahāsi Sayādaw. (1992). Fundamentals of vipassana meditation. (2nd ed.). Translated by Muang Tha Noe. Myanmar: Sarpay Poung Ku Press.