ระบบการผลิต ระบบการตลาด ต้นทุนและผลตอบแทนจากการทำประมงหอยไฟไหม้กรณีศึกษา: ชาวประมง อ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

สงบ สิงสันจิตร

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพี่อศึกษาระบบการผลิตหอยไฟไหม้ ระบบการตลาดของหอยไฟไหม้ ต้นทุนและผลตอบแทนจากการทำประมงหอยไฟไหม้ กรณีศึกษาชาวประมง อ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ที่ทำประมงหอยไฟไหม้ตามธรรมชาติในพื้นที่อ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 20 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย

การทำประมงหอยไฟไหม้ มีปัจจัยนำเข้าได้แก่ เรือประมง เครื่องยนต์ น้ำมันเชื้อเพลิง แรงงานในครัวเรือน ใช้เวลา ในการทำประมงประมาณวันละ 8–10 ชั่วโมง ได้ผลผลิตครั้งละประมาณ 21–30 กิโลกรัมต่อราย มีการจำหน่ายผลผลิต 4 ช่องทาง คือ จำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคโดยตรง จำหน่ายให้แก่ร้านอาหารไปสู่ผู้บริโภค จำหน่ายผ่านผู้ค้าปลีกไปสู่ผู้บริโภค จำหน่ายผ่านผู้ค้าส่งสู่ผู้ค้าปลีกไปยังผู้บริโภคทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่ ชาวประมงมีต้นทุนและกำไรจากการดำเนินงานแตกต่างกันตามรูปแบบของการใช้ยานพาหนะที่ใช้ในการทำประมง ได้แก่ ผู้ที่เป็นเจ้าของเรือประมงมีต้นทุนรวม 134,455 (78.56%) บาทต่อปี มีกำไรจากการดำเนินงาน36,690 (21.44%) บาทต่อปี ผู้ที่เช่าเรือประมงมีต้นทุนรวม 48,986 (73.01%) บาทต่อปี มีกำไรจากการดำเนินงาน18,107 (26.99%) บาทต่อปี และผู้ที่ใช้บริการเรือประมงของผู้ค้าส่งมีต้นทุนรวม 36,609 (63.40%) บาทต่อปี กำไรจากการดำเนินงาน 21,133 (36.60%) บาทต่อปี

 

Production System, Marketing System, Cost and Returns of Oriental Hard Clam Case study: Fishermen in Bandon Bay, Surat Thani Province

The objectives of this research were to study (1) the oriental hard clam production system, (2) the system of marketing in the oriental hard clam, and (3) the costs and returns for oriental hard clam fishery of fishermen in Bandon Bay, Surat Thani Province. As a case the sample consisted of 20 fishermen, who were doing natural oriental hard clam fishery in Bandon Bay, Surat Thani Province. Data were collected using a questionnaire and analyzed using frequency, percentage, and mean.

The inputs for oriental hard clam fishery included fishing vessels, engines, fuel, and household labors. The sample spent 8–10 hours per day and yielded 21–30 kilograms per person. The oriental hard clams caught were sold through 4 channels of distribution: selling directly to consumers, selling to restaurants for consumers, selling through retailers for consumers, and selling through wholesalers to retailers for consumers both inside and outside the area. The cost and operating profit margin from oriental hard clam fishery varied according to types of vehicle used: the sample who used motorized long-tailed boats had the cost for operating was 134,455 baht per year (78.56%) and earned 36,690 baht per year (21.44%), and the sample who hired fishing vessels had the cost for operating was 48,986 baht a year (73.01%) and earned 18,107 baht per year (26.99%), the sample who used fishing boats of wholesalers had the cost for operating was 36,609 baht per year (63.40%) and earned 21,133 baht per year (36.60%).

Article Details

How to Cite
สิงสันจิตร ส. (2016). ระบบการผลิต ระบบการตลาด ต้นทุนและผลตอบแทนจากการทำประมงหอยไฟไหม้กรณีศึกษา: ชาวประมง อ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. JOURNAL OF SOUTHERN TECHNOLOGY, 9(2), 69–76. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/journal_sct/article/view/82134
Section
Research Manuscript