การศึกษาพฤติกรรมด้านการมีภูมิคุ้มกันในตนเอง ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษา: กรณีศึกษา นักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ

Main Article Content

มาริสา ต่อทีฆะ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยในการทำนายพฤติกรรมด้านการมีภูมิคุ้มกันในตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จำนวน 312 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบวัดพหุมิติด้านการมีภูมิคุ้มกันตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 36 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกทวิ

ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพมีภูมิคุ้มกันในตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับค่อนข้างสูง และสมการการถดถอยโลจิสติกทวิที่ประกอบด้วย ตัวแปรอิสระ 3 ตัว คือ เพศ ผลการเรียน และ การทำกิจกรรมกับครอบครัว สามารถใช้ทำนายกลุ่มของนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพที่มีภูมิคุ้มกันในตนเองอยู่ในระดับสูงและระดับต่ำได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสมการสามารถทำนายได้ถูกต้องโดยรวมร้อยละ 71.2 ส่วนอายุ รายได้ครอบครัว ขนาดครอบครัว และสภาพการพักอาศัยไม่มีผลในการทำนายภูมิคุ้มกันในตนเองของนักศึกษา

 

A Study on Students’ Self-immunity Behaviors under the Philosophy of Sufficiency Economy: Case of Bangkok University Undergraduate Students

This study is a survey research that aims to investigate the self-immunity behaviors under the Philosophy of Sufficiency Economy (PSE) of Bangkok University students, and determine factors predicting their self-immunity behaviors under the PSE. A 36-item of the Multi-dimensional Test Construction of Psychological Immunity based on the PSE was conducted with a sample of 312 students, who was recruited by the technique of simple random sampling from Bangkok University students. The obtained data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, and were also analyzed by a binary logistic regression. The findings showed that the attending students had a fairly high level of self-immunity behavior under the PSE. The binary logistic regression model which utilized three independent variables including gender, grade point average, and number of activity with family was able to predict the self-immunity behaviors under the PSE of Bangkok University students who were at the range of high and low level with overall accuracy of 71.2%. However, age, family income, family size, and type of residence were not significant factors of self-immunity behavior, at the .05 level.

Article Details

How to Cite
ต่อทีฆะ ม. (2016). การศึกษาพฤติกรรมด้านการมีภูมิคุ้มกันในตนเอง ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษา: กรณีศึกษา นักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ. JOURNAL OF SOUTHERN TECHNOLOGY, 9(2), 125–132. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/journal_sct/article/view/82149
Section
Research Manuscript