การสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมด้านความซื่อสัตย์สุจริตของ นักศึกษาระดับอุดมศึกษาในภาคตะวันออก โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนว ทฤษฎีการสร้างสรรค์ด้วยปัญญา

Main Article Content

ปาริชาติ ธีระวิทย์
สพลณภัทร์ ศรีแสนยงค์
สฎายุ ธีระวณิชตระกูล

Abstract

การสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมด้านความซื่อสัตย์สุจริตของ นักศึกษาระดับอุดมศึกษาในภาคตะวันออก โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนว ทฤษฎีการสร้างสรรค์ด้วยปัญญา

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมด้านความซื่อสัตย์สุจริตของ นักศึกษาระดับอุดมศึกษาในภาคตะวันออก โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีการสร้างสรรค์ ด้วยปัญญาให้ได้ประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 (2) พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมด้านความซื่อสัตย์สุจริตของนักศึกษา ระดับอุดมศึกษาในภาคตะวันออก โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมด้านความซื่อสัตย์สุจริต ตามแนว ทฤษฎีการสร้างสรรค์ด้วยปัญญา และ (3) ศึกษาเจตคติต่อการจัดชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมด้านความ ซื่อสัตย์สุจริตของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในภาคตะวันออก โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีการสร้างสรรค์ด้วย ปัญญา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนาระยอง ชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จํานวน 1 ห้องเรียน จํานวน 100 คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จากรายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในภาคตะวันออก จํานวน 10 สถาบันโดยแยก ออกเป็นแต่ละจังหวัด และใช้การสุ่มแบบจับฉลาก สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t–test แบบ Dependent Samples ผลการวิจัยพบว่า ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมด้านความซื่อสัตย์สุจริตมีประสิทธิภาพ 82.17/83.26 แสดงว่า ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมด้านความซื่อสัตย์ตามเกณฑ์ที่กําหนด 80/80 เมื่อ ทดสอบความแตกต่างของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนคุณธรรมจริยธรรมด้านความซื่อสัตย์สุจริตโดยคะแนน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการทดลองมีค่าสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักศึกษามีเจตคติต่อการ จัดชุดกิจกรรมการเรียนการสอนคุณธรรมจริยธรรมด้านความซื่อสัตย์สุจริตโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 

 

The Construction of Learning Activity Developed Morals and Ethics for Honesty of University Students in the Eastern Region of Thailand by Employing Teaching and Learning Strategies Based on Constructionism Theory

          This research aimed to (1) construct learning activity in promoting Eastern university students’ morals and ethics for honesty by employing Constructionism theory with the standard of 80/80  (2) promote Eastern university students’ morals and ethics by employing those learning activities and (3) study students’ attitudes toward the employed learning activities. The sample of this present study was one class of 1st year students registered in 1st semester 2015, academic year of Charlearmkarnjarna College Rayong. The sample was chosen by multi-stage sampling technique. It was drawn from a list of 10 institutions of higher education in the East, separated by provinces and randomly draw one institution, which turned out to be Chalermkarnchana College Rayong. Then, randomly selected one class of the 1st year students, consisting of 100 students. Statistics including frequency, percentage, average, standard deviation, and dependent samples t-test were employed to analyze the data for this present study.   The results revealed that the employed learning activities in promoting students’ morals and ethics for honesty was efficient at 83.17/83.26. This revealed that the set of the learning activities is standard according to the specified basis of 80/80. The results also showed that the difference between students’ pre-test scores and post-test scores was statistically significant at  .05  level and the participating students’ attitudes toward the set of learning activities are in the highest level.

Article Details

How to Cite
ธีระวิทย์ ป., ศรีแสนยงค์ ส., & ธีระวณิชตระกูล ส. (2017). การสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมด้านความซื่อสัตย์สุจริตของ นักศึกษาระดับอุดมศึกษาในภาคตะวันออก โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนว ทฤษฎีการสร้างสรรค์ด้วยปัญญา. JOURNAL OF SOUTHERN TECHNOLOGY, 10(1), 143–150. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/journal_sct/article/view/87272
Section
Research Manuscript