รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสําหรับคณาจารย์วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้

Main Article Content

สุภัทรา ภูษิตรัตนาวลี
ประทีป จินงี่
ชุลีกร ยิ้มสุด

Abstract

รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสําหรับคณาจารย์วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ 

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสําหรับคณาจารย์วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ พื้นที่ในการวิจัย ได้แก่ วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ อําเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีขั้นตอนการดําเนินงานวิจัย 4 ขั้น คือ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการในการจัดการเรียนรู้ของผู้บริหารคณาจารย์วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ (2) พัฒนา คณาจารย์ที่สมัครใจเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (3) สร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสําหรับ คณาจารย์วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ และ (4) ตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหาร คณาจารย์ และนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบบันทึกการวิเคราะห์เอกสาร ข้อคําถามการสัมภาษณ์ แบบสอบถามสภาพการจัดการเรียนรู้ แบบวัดความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก แบบวัดเจตคติต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุก แบบประเมินพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของอาจารย์ ข้อคําถามในการประชุมกลุ่ม และ แบบบันทึกการประชุมกลุ่ม   ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพของนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้มีพฤติกรรมการเรียนแบบฟังบรรยายมากกว่าการมี ส่วนร่วมในชั้นเรียน การจัดการเรียนรู้ของอาจารย์ส่วนใหญ่ใช้การสอนแบบบรรยาย และสอนแบบบรรยายร่วมกับให้ทํางานกลุ่ม อภิปรายกลุ่มย่อย อาจารย์ผู้สอนมีความต้องการที่จะหาวิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว และผู้บริหารมีความต้องการที่ จะสนับสนุนให้จัดการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมมากขึ้น (2) ผลการพัฒนาคณาจารย์ที่สมัครใจเข้ามามีส่วนร่วมในการ พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก พบว่า หลังเข้าร่วมโปรแกรมพัฒนาอาจารย์มีความรู้และเจตคติต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม และมีทักษะการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกจากการฝึกปฏิบัติ (3) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เชิงรุก มี 4 องค์ประกอบ คือ หลักสําคัญของการจัดการเรียนรู้เชิงรุก วัตถุประสงค์ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ขั้นตอน ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และผลการเรียนรู้ของนักศึกษาที่ได้จากการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกใน วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ และ (4) ผลการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบ พบว่า หลังปรับขั้นตอนการจัดการเรียนรู้จาก เดิม 6 ขั้นตอน ให้มี 7 ขั้นตอน คือ 1) วิเคราะห์เนื้อหารายวิชา กําหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ราย คาบ 2) แจ้งวัตถุประสงค์และข้อตกลงให้นักศึกษาทราบก่อนเรียนเพื่อให้นักศึกษาให้ความร่วมมือในกิจกรรม 3) กระตุ้นให้นึกถึง ความรู้เดิม 4) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงแรก จัดกิจกรรมในลักษณะการฟัง อ่าน ดู และ ช่วงที่สอง  จัดกิจกรรมให้ทํางานกลุ่ม อภิปราย ลงมือปฏิบัติจริง นําเสนอหน้าชั้น และ ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง 5) ให้ข้อมูลย้อนกลับ 6) สรุปเนื้อหาท้ายคาบ และ 7) ประเมินผลการเรียนรู้ 

 

Active Learning Instructional Model of Teachers in  Southern College Technology 

          The purpose of this research was to develop an active learning instructional model for teachers in Southern College Technology. The study area was Southern College Technology (SCT), Thung Song district, Nakhon Si Thammarat province. This research was divided into 4 stages: 1) Studying current conditions and need assessment of administrator and teachers in SCT. 2) Developing teachers who willing to participate to create an active learning instructional model. 3) Developing an active learning instructional model of teachers in SCT and. 4) Checking eligibility of instructional model. The samples for study were administrators, teachers and students of SCT. The research tools were document analysis form, interview questions, current conditions instructional questionnaire, active learning instructional test, active learning instructional attitude test, active learning instructional behavior evaluation form, focus group question and a meeting note.  The finding indicated that (1) The current conditions, students' learning style were passive learning more than active learning, almost teachers teach with the lecture-based teaching, teachers preferred to find teaching method to solve this problem, and administrators supported an active learning instructional model. (2) The development of teachers who would like to participate voluntarily in the stage of developing an active learning instructional model shown that after the program teachers' knowledge and teachers' attitude of active learning were higher than before joining the program, including higher in writing learning plan skill from practices. (3) An active learning instructional model has 4 factors was principles of an active learning, object of an active learning, procedure of an active learning and result of an active learning instructional model and (4) The results of the appropriateness model indicate that after adjusting procedure of an active learning get to 7 stages: 1) Analysis course, learning objective, designing learning activities. 2) Inform students about learning objectives and agreement before class to cooperate in activities. 3) Urged to consider existing knowledge. 4) The learning activities into 2 phases. The first 10 minutes learning through passive learning, after that learning through active learning. (5) Students feedback. (6) Summarizes the lessons and (7) Assessment for learning. 

Article Details

How to Cite
ภูษิตรัตนาวลี ส., จินงี่ ป., & ยิ้มสุด ช. (2017). รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสําหรับคณาจารย์วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้. JOURNAL OF SOUTHERN TECHNOLOGY, 10(1), 151–158. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/journal_sct/article/view/87276
Section
Research Manuscript