ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนจากแบบทดสอบ Wechsler Adult Intelligence Scale–Third Edition, Bender Visual–Motor Gestalt Test: Second Edition และ Montreal Cognitive Assessment–Thai Edition ในผู้ที่มีความผิดปกติของระบบประสาทรู้คิดระยะไม่รุนแรง

ผู้แต่ง

  • ภาสกร คุ้มศิริ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • มานิกา วิเศษสาธร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • สมชาย เตียวกุล คณะจิตวิทยา วิทยาลัยเซนต์หลุยส์

คำสำคัญ:

ความผิดปกติในระบบประสาทรู้คิด, Bender Visual–Motor Gestalt Test: Second Edition, Montreal Cognitive Assessment–Thai Edition, Wechsler Adult Intelligence Scale–Third Edition

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนจากแบบทดสอบ  Wechsler  Adult  Intelligence  Scale–Third Edition (WAIS–III), Bender Visual–Motor Gestalt Test: Second Edition (Bender–Gestalt II) และ Montreal Cognitive Assessment–Thai Edition (MoCA–Thai) ในผู้ที่มีความผิดปกติของระบบประสาทรู้คิดระยะไม่รุนแรง

วัสดุและวิธีการ : เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างมีจำนวนทั้งสิ้น 30 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคม 2560 ถึง เมษายน 2561 ณ สถาบันประสาทวิทยา และศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค (บ้านบางแค 1) เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีเจาะจง โดยได้รับการวินิจฉัยว่ามีความผิดปกติของระบบประสาทรู้คิดในระยะไม่รุนแรงจากจิตแพทย์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบทดสอบ WAIS–III, Bender–Gestalt II และ MoCA–Thai ทำการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ด้วย Pearson’s product moment correlation coefficients

ผล : จากแบบทดสอบ WAIS–III พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนสติปัญญารวมและด้านภาษาอยู่ที่ระดับต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย  เมื่อพิจารณาแบบทดสอบย่อยพบว่าที่ยังสามารถทำได้ดีอยู่คือ Digit  span, Vocabulary และ Matrix Reasoning และทำได้น้อยที่สุด ได้แก่ Coding, Picture Completion และ Similarities ส่วน Bender–Gestalt II ใน Copy phase พบว่ายังมีทักษะการทำงานประสานกันระหว่างมือตาอยู่ในระดับเกณฑ์เฉลี่ย อย่างไรก็ตามใน Recall phase พบว่าความสามารถด้านความจำจากการมองอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย เมื่อพิจารณา Motor test พบว่าความสามารถด้านการควบคุมและเคลื่อนไหวมือยังอยู่ในระดับเกณฑ์เฉลี่ย ส่วน Perception test จะเห็นได้ว่าความสามารถด้านการรับรู้อยู่ในระดับต่ำ และยังมีค่าเฉลี่ยรวม MoCA–Thai อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าเกณฑ์  นอกจากนี้ยังพบว่าคะแนนของ WAIS–III และ Bender–Gestalt II กับ MoCA–Thai มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

สรุป : จากผลการศึกษาพบว่าเครื่องมือทดสอบทางจิตวิทยาทั้ง 3 ชุด มีคะแนนที่สัมพันธ์กันค่อนข้างมากถึงระดับปานกลางและมีทิศทางเดียวกัน  จึงมีประโยชน์สำหรับใช้ร่วมกันในการประเมินผู้มีความผิดปกติของระบบประสาทรู้คิดได้ หรือใช้เป็นทางเลือกสำหรับการเมินทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละชุดด้วย

References

วีรศักดิ์ เมืองไพศาล. ปัจจัยเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อมและการป้องกัน (ตอนที่ 1). Siriraj E-public library. 2556. [ออนไลน์]. ที่มา http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=415. [14 มิถุนายน 2558].

นันทวัช สิทธิรักษ์ และคณะ. จิตเวชศิริราช DSM-5. กรุงเทพฯ: ประยูรสาส์นไทยการพิมพ์. 2558.

มาโนช หล่อตระกูล, ปราโมทย์ สุคนิชย์. จิตเวชศาสตร์รามาธิบดี. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558.

Plichta SB, Grazon LS. Statistics for nursing and allied health. Philadephia: Lippincott; 2009.

สุขฤทัย ฉิมชาติ. ผลของโปรแกรมการชี้แนะเพื่อสุขภาพต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง, 28th National Graduate Research Conference, Assumption University of Thailand. 2556, 28-29 June.

กัมมันต์ พันธุมจินดา. สมองเสื่อม : โรคหรือวัย (รวมข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับโรคสมองเสื่อมก่อนวัยอัลไซม์เมอร์และการดูแลรักษา). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2543.

American Psychiatric Association. Desk reference diagnostic criteria from DSM-5TM. United Stated of American: American Psychiatric Publishing; 2013.

Izawa Y, Urakami K, KojimaT, Ohama E. Wechsler adult intelligence scale, 3rd Edition (WAIS-III): Usefulness in the early detection of alzheimer’s disease. Yonago Acta medica 2009: (52); 11–20.

Yeung PY, Wong LL, Chan CC, Leung JL, Yung CY. A validation study of the Hong Kong version of Montreal Cognitive Assessment (HK-MoCA) in chinese older adults in Hong Kong. Hong Kong Med J. 2014: 20(6).

Hinkle DE, William W, Stephen GJ. Applied statistics for the behavior sciences. 4th ed. New York: Houghton Mifflin; 1998.

Brannigan GG, Decker SL. Examiner’s manual of Bender Visual-Motor Gestalt Test, Second Edition. Itasca, IL: Riverside Publishing; 2003.

Alves L, Simões MR, Martins C, Freitas S, Santana I. Premorbid IQ influence on screening tests’ scores in healthy patients and patients with cognitive impairment. J Geriatr Psychiatry Neurol 2013: 26(2); 117–26.

ดำรงศักดิ์ บุลยเลิศ. การตรวจร่างกายระบบประสาทเชิงสรีรวิทยา. เชียงใหม่: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2542.

Caccappolo VE, Manly J, Tang M, Marder K, Bell K, Stern Y. The neuropsychological profiles of mild Alzheimer’s disease and questionable dementia as compared to age-related cognitive decline. J Int Neuropsychol Soc 2003: 9; 720-32.

Henry JD, Crawford JR, Phillips LH. Verbal fluency performance in dementia of the Alzheimer’s type: a meta-analysis. Neuropsychologia 2004: 42; 1212-22.

Brown LA, Brockmole JR, Gow AJ, Deary IJ. Processing speed and visuo-spatial executive function predict visual working memory ability in older adults. Exp Aging Res 2010; 1-7.

Kensinger EA, Shearer DK, Growdon JH. Working memory in mild alzheimer’s disease and early parkinson’s disease. Neuropsychology 2003: 17(2); 230-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-11

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ