ผลของรูปแบบบริการผู้ป่วยนอกโรคเบาหวาน ต่อระยะเวลารอคอย และความพึงพอใจในบริการ

Authors

  • ไซนับ ศุภศิริ โรงพยาบาลมายอ อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี
  • สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดนนทบุรี
  • ดวงใจ เปลี่ยนบำรุง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา

Keywords:

รูปแบบบริการผู้ป่วยนอก, โรคเบาหวาน, ระยะเวลารอคอย, ความพึงพอใจของผู้ป่วย, outpatient service model, waiting time, patient’s satisfaction

Abstract

        การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของรูปแบบบริการผู้ป่วยนอกโรคเบาหวาน ต่อระยะเวลารอคอยและความพึงพอใจในบริการ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่มารับบริการ ณ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมายอ จังหวัดปัตตานี  จำนวน 462 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 254 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 208 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบบริการผู้ป่วยโรคเบาหวาน แผนกผู้ป่วยนอก ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากทฤษฎีแถวคอยและการมีส่วนร่วมของทีมสหวิชาชีพ แบบบันทึกระยะเวลารอคอย นาฬิกาจับเวลา และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติแมนวิทนีย์ยู

        ผลการวิจัยพบว่า ระยะเวลารอคอยของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในกลุ่มทดลองน้อยกว่าผู้ป่วยในกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ความพึงพอใจในบริการของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในกลุ่มทดลองสูงกว่าผู้ป่วยในกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  

        การวิจัยครั้งนี้เสนอแนะให้นำรูปแบบบริการที่ประยุกต์จากทฤษฎีแถวคอยไปใช้ในแผนกผู้ป่วยนอกในสถานบริการสุขภาพอื่นๆ เพื่อลดระยะเวลารอคอยและเพิ่มความพึงพอใจ

The effects of a service model for the diabetic out-patient department on waiting time and patients’ satisfaction

        This quasi-experimental research aimed to study the effects of a service model for the Diabetic Out-patient Department on waiting time and patients’ satisfaction.The sample included 462 diabetic patients at the Out-patient Department, Mayo Hospital, Pattani Province.They were divided into two groups: an experimental group (254) and a control group (208). The instruments developed by the researcher comprised a service model for Diabetic Out-patient Department based on Queuing theory with multidisciplinary team participation, the record form of waiting time, stopwatches and the patients’ satisfaction questionnaire. Data were analyzed by descriptive statistics and Mann-Whitney U test.

        The results showed that the waiting time of diabetic patients in the experimental group was significantly lower than those in the control group (p < 0.05) and Patients’ satisfaction in the experimental group was significantly higher than those in the control group (p < 0.05).

        This study has suggested that the service model based on Queuing theory could be applied in other Out-patient Department of healthcare settings to decrease waiting time and to increase patients’ satisfaction. 


Downloads

How to Cite

1.
ศุภศิริ ไ, พุทธาพิทักษ์ผล ส, เปลี่ยนบำรุง ด. ผลของรูปแบบบริการผู้ป่วยนอกโรคเบาหวาน ต่อระยะเวลารอคอย และความพึงพอใจในบริการ. Thai J. Cardio-Thorac Nurs. [Internet]. 2017 Oct. 17 [cited 2024 Apr. 25];28(1):44-56. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/101615