การประเมินผลการพัฒนารูปแบบการจัดบริการผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ST ยก ในสถานบริการสาธารณสุข จังหวัดสระบุรี

Authors

  • นพมาศ พงษ์ประจักษ์ ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลสระบุรี
  • พิธา พรหมลิขิตชัย ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลสระบุรี
  • ทิตยา ด้วงเงิน ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลสระบุรี

Keywords:

กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน, ระยะเวลากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด, ระยะเวลาการให้ยาละลายลิ่มเลือด, รูปแบบการจัดบริการ, อัตราการเสียชีวิต, STEMI, total ischemic time, door to needle time, Service care model, Mortality rate

Abstract

        การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบการศึกษาย้อนหลังมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการพัฒนารูปแบบการจัดบริการการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ST ยก ในสถานบริการสาธารณสุข จังหวัดสระบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือเวชระเบียนของผู้ป่วยกลุ่มโรคนี้ที่มารับบริการ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มก่อนการพัฒนารูปแบบ ระหว่าง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ถึง 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558 จำนวน 146 ราย และกลุ่มหลังการพัฒนารูปแบบฯ ระหว่าง 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2559 จำนวน 176 ราย เก็บข้อมูลก่อนและหลังการพัฒนารูปแบบการจัดบริการได้แก่ ระยะเวลากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Total Ischemic Time) ระยะเวลาการให้ยาละลายลิ่มเลือด (Door to Needle Time) และอัตราการเสียชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าสถิติ t–test และ Chi- Square Test 

        ผลการศึกษาพบว่าการพัฒนารูปแบบจากการให้ยาละลายลิ่มเลือด นอกจากจะรักษาได้เฉพาะในรพ.ศูนย์ (รพศ.) และรพ.ทั่วไป (รพท.) แล้ว ยังให้ยาละลายลิ่มเลือดได้ทั้ง รพศ. รพท. และรพ.ชุมชน (รพช.) ได้ผลลัพธ์ดังนี้   1) ระยะเวลากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Total Ischemic Time) เฉลี่ย ลดลงจาก 225.11 นาที (SD = 143.65) เป็น 182.36 นาที (SD = 125.97) ซึ่งไม่แตกต่างจากระยะเวลาที่มีประสิทธิภาพการรักษาสูงสุดของการให้ยาละลายลิ่มเลือด(180 นาที) 2) ระยะเวลาการให้ยาละลายลิ่มเลือด (Door to Needle Time) เฉลี่ยของรพท.เพิ่มขึ้นจาก 37.36 นาที (SD = 19.66) เป็น 57.03 นาที (SD = 45.06) รพศ.เพิ่มขึ้นจาก 45.71 (SD = 31.69) นาที เป็น 60.41 นาที (SD = 41.10) และรพช.มีค่า 54.80 นาที (SD = 28.49) ซึ่งระยะหลังการพัฒนาในรพ.ทุกระดับมีค่าสูงกว่าค่ามาตรฐาน (30นาที) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3) อัตราการเสียชีวิตเฉลี่ยระยะก่อนการพัฒนา ร้อยละ 23.97 ระยะหลังการพัฒนา ร้อยละ 15.91 ลดลง ร้อยละ 8.06 แต่ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ST ยก กับระยะเวลาตามรูปแบบการพัฒนาการให้ยาละลายลิ่มเลือด

        ผลการศึกษานี้เสนอแนะว่าควรมีการพัฒนารูปแบบเชิงรุกและขยายรูปแบบในการดูแลจัดบริการการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ST ยกในสถาบยริการอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง


Evaluation of the service care model for patients with ST elevation myocardial infarction in health facilities, Saraburi province.

 

        The purpose of the retrospective study was to evaluate the service care model for patients with ST Elevation Myocardial Infarction (STEMI) in health facilities, Saraburi Province. Data were collected from medical records of 322 patients with STEMI. Data of 146 patients were collected before using the service care model during October 1, 2014 and August 31, 2015. In addition, medical records of 176 patients were collected after using the service care model during November 1, 2015 and September 30, 2016. Data were collected for total ischemic time, door to needle time, and mortality rate. Data were analyzed using frequency, percentage, t-test, and Chi-Square Test 

        Results showed that the service care model of using thrombolytic drug could used not only in general and regional hospitals but also in community hospitals as the following outcomes: 1) The average of total ischemic time decreased from 225.11 minutes (SD = 143.65) to 182.36 minutes (SD = 125.97) that was not different from the highest effective time cure by thrombolytic drug (180 seconds). 2) The average of door to needle time increased from 37.36 minutes to 57.03 minutes (SD = 45.06) in general hospital, from 45.71 minutes (SD = 31.69) to 60.41 minutes (SD = 41.10) in regional hospital, and to be 54.80 minutes (SD = 28.49) in community hospitals. Door to needle time of all hospitals were significantly higher than standard time (30 minutes). 3) Mortality rate decreased from 23.97% to 15.91%, the decreased rate was 8.06%.  The death of STEMI was not significantly correlate to the service care model.

        The results of this study have suggest that the service care model should be proactively developed and expanded to other health care facilities for patients with ST Elevation Myocardial Infarction constantly. 


Downloads

How to Cite

1.
พงษ์ประจักษ์ น, พรหมลิขิตชัย พ, ด้วงเงิน ท. การประเมินผลการพัฒนารูปแบบการจัดบริการผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ST ยก ในสถานบริการสาธารณสุข จังหวัดสระบุรี. Thai J. Cardio-Thorac Nurs. [Internet]. 2017 Oct. 17 [cited 2024 Apr. 25];28(1):69-80. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/101619