ประสบการณ์การมีอาการ การจัดการกับอาการ และภาวะการทำหน้าที่ในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว

Authors

  • วาสนา สุวรรณรัศมี
  • วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล
  • วิชชุดา เจริญกิจการ
  • ฉัตรกนก ทุมวิภาต ทุมวิภาต

Keywords:

ประสบการณ์การมีอาการ, การจัดการกับอาการ, ภาวะการทำหน้าที่, ภาวะหัวใจล้มเหลว, Symptom experiences, Symptom management, Functional status, Heart failure

Abstract

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์การ          มีอาการที่รบกวนการดำเนินชีวิตมากที่สุด 5 อันดับแรกกับภาวะการทำหน้าที่ในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวที่มารับการตรวจรักษาที่หน่วยตรวจโรคหัวใจ โรงพยาบาลศิริราช จำนวน 88 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามประสบการณ์การมีอาการ แบบสัมภาษณ์วิธีการจัดการกับอาการโดยผู้ป่วย และแบบประเมินภาวะการทำหน้าที่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน

ผลการศึกษาพบว่า อาการที่กลุ่มตัวอย่างประเมินว่ามีทุกข์ทรมาน/รบกวนการดำเนินชีวิตมากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่ หายใจลำบากเมื่อนอนราบ หายใจไม่อิ่ม/หายใจตื้น ตื่นลุกขึ้นมาหอบตอนกลางคืน นอนไม่หลับ     หรือหลับยาก และอ่อนเพลีย/เปลี้ย/ไม่มีแรง ตามลำดับ ส่วนใหญ่วิธีการจัดการกับอาการทีกลุ่มตัวอย่างใช้ประกอบด้วย การจัดท่า การควบคุมการหายใจ และการรับประทานยานอนหลับภาวะการทำหน้าที่ของกลุ่มตัวอย่างโดยรวมอยู่ในระดับดี คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.69 (S.D. = 0.77) ความ สัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์การมีอาการที่รบกวนการดำเนินชีวิตมากที่สุด 5 อันดับแรกกับภาวะการทำหน้าที่โดยรวมในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว พบว่าอาการอ่อนเพลีย/เปลี้ย/ไม่มีแรง มีความสัมพันธ์เชิงลบในระดับปานกลางกับภาวะการทำหน้าที่อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (r = -.494, p < 0.01) อาการหายใจไม่อิ่ม/หายใจตื้น หายใจลำบากเมื่อนอนราบ นอนไม่หลับหรือ หลับยาก และตื่นลุกขึ้นมาหอบตอนกลางคืน ไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะการทำหน้าที่ (r = -.047, r = -.036, r = -.112, r = -.103 ตามลำดับ, p > 0.05)

ข้อเสนอแนะ พยาบาลควรมีการประเมินประสบการณ์การมีอาการอย่างครอบคลุม และพัฒนาโปรแกรมหรือรูปแบบการจัดการกับอาการด้วยตนเอง โดยเฉพาะการจัดการกับอาการอ่อนเพลีย/เปลี้ย/ไม่มีแรง เพื่อส่งเสริมภาวะหน้าที่ของผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้น


Symptom Experiences, Symptom Management, and Functional Status

in Patients with Heart Failure


This descriptive correlational study aimed to explore the relationship between the five most distressing symptom experiences and functional status in patients with heart failure. Convenience sampling of 88 patients with heart failure who attended the Heart Disease Clinic, Siriraj Hospital. Data were collected by using: a demographic questionnaire, a symptom experience questionnaire, a symptom management questionnaire, and a functional status questionnaire. Data were analyzed by descriptive statistics and Pearson’s correlation coefficient.

The findings revealed that the five most distressing symptoms perceived by the participants   were difficulty breathing when lying flat, shortness of breath, waking up breathless at night, difficulty sleeping, and fatigue.  Symptom management strategies of the participants included repositioning, controlling breathing, and taking sleeping pills. The overall functional status of the sample group was at a good level, with a mean score of 3.69 (SD = 0.77). With regard to the relationship between the five most distressing symptoms and functional status of the participants, it was found that fatigue was negatively related to functional status with statistical significance at a moderate level (r = -.494, p <0.01), whereas shortness of breath, difficulty breathing  when lying flat, difficulty sleeping , and waking    up breathless at night were not statistically related to functional status (r = -.047, r = -.036, r = -.112, and   r = -.103, respectively, p > 0.05).

It is recommend that nurses should comprehensively assess symptom experiences of patients with heart failure and self management programs or models, especially fatigue management should be developed to improve the functional status of patients with heart failure.

 



Downloads

How to Cite

1.
สุวรรณรัศมี ว, ภิญโญภาสกุล ว, เจริญกิจการ ว, ทุมวิภาต ฉท. ประสบการณ์การมีอาการ การจัดการกับอาการ และภาวะการทำหน้าที่ในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว. Thai J. Cardio-Thorac Nurs. [Internet]. 2014 Apr. 23 [cited 2024 Apr. 19];24(1):1-16. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/17947