ผลของโปรแกรมการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้แก่มารดาต่อความรู้และพฤติกรรมในการดูแลบุตรโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียว อายุ 0-2 ปี

Authors

  • สาธิมา สงทิพย์ ภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วนิดา เสนะสุทธิพันธุ์ ภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • อรุณรัตน์ ศรีจันทรนิตย์ ภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

ความรู้, พฤติกรรม, ระบบสนับสนุนและให้ความรู้, มารดา, เด็กป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียว, knowledge, behaviors, supportive-educative nursing system, mother, children with acyanotic congenital heart disease

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้แก่มารดา ต่อความรู้และพฤติกรรมในการดูแลบุตรโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียว อายุ 0-2 ปี กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาของผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียวที่มีอายุ 0-2 ปี ที่ยังไม่ได้รับการผ่าตัดรักษาแบบแก้ไขความผิดปกติ โดยมารดาพาเด็กมารับบริการที่คลินิกโรคหัวใจกุมารฯ โรงพยาบาลศิริราช แบ่งมารดาเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 25 ราย กลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น โดยใช้การพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ของโอเร็ม (Orem, 2001)เป็นกรอบแนวคิด  ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความรู้ และแบบสอบถามพฤติกรรมของมารดาในการดูแลบุตรโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและสถิติทดสอบที

ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ มารดาในกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ในการดูแลบุตรโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียว มากกว่ามารดากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 6.835, p < .001) และมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมในการดูแลบุตรโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียว ดีกว่ามารดากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 7.343, p < .001)

ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยนี้ สามารถนำโปรแกรมการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ไปใช้ในการส่งเสริมมารดาในการดูแลบุตรโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียว เพื่อให้มารดามีความรู้และพฤติกรรมในการดูแลบุตรที่ถูกต้อง อันจะนำไปสู่การที่บุตรมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน และมีความพร้อมของสุขภาพเด็กในการเข้ารับการผ่าตัดตามแผนการรักษาของแพทย์ต่อไป 


The effects of supportive-educative nursing system program on knowledge and behaviors of mothers of children with acyanotic congenital heart disease aged 0-2 years

 This study was a quasi-experimental research. The purpose of this study was to examine the effect of a supportive-educative nursing system program on knowledge and behaviors of mothers caring for 0-2 year old children with acyanotic congenital heart disease. The samples were mothers of 0-2 year old children with acyanotic congenital heart disease pending corrective surgery. The mothers took their children to the Pediatric Cardiology Clinic at Siriraj Hospital. The samples were divided into an experimental group and a control group with 25 subjects in each group. The mothers in the experimental group participated in the supportive-educative nursing system program based on Orem (2001) conceptual framework. The mothers in the control group received routine nursing care only. Data were collected using questionnaires regarding the knowledge and behaviors of mothers caring for children with acyanotic congenital heart disease. Data were analyzed by using descriptive statistic and t-test.        

The study found that after participating in the supportive-educative nursing system program, the mothers in the experimental group had a higher mean of knowledge scores than the mothers in the control group who received routine nursing care only with statistical significance (t = 6.835, p < .001). Similarly, the mothers in the experimental group had higher mean score regarding behaviors than the mothers in the control group with statistical significance (t = 7.343, p < .001).  

This study recommended that the supportive-educative nursing system program should be implemented as a tool to improve mothers’ knowledge and behaviors in providing better care for their children to be healthy and to reduce complications. In addition, the children’s health conditions were in a suitable state for assigned operation.


Downloads

How to Cite

1.
สงทิพย์ ส, เสนะสุทธิพันธุ์ ว, ศรีจันทรนิตย์ อ. ผลของโปรแกรมการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้แก่มารดาต่อความรู้และพฤติกรรมในการดูแลบุตรโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียว อายุ 0-2 ปี. Thai J. Cardio-Thorac Nurs. [Internet]. 2016 Mar. 1 [cited 2024 Apr. 25];26(2):25-38. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/49492