ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจ

Authors

  • อรชร ศรีไทรล้วน อาจารย์ ภาควิชาการพยาบาลพื้นฐาน คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์
  • ดวงกมล วัตราดุลย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย

Keywords:

พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ, การรับรู้สมรรถนะแห่งตน, ผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจ, Health Promotion Behaviors, Self efficacy, Postoperative Heart Surgery Patients

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจ โดยใช้กรอบแนวคิดทฤษฏีส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่ายในผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจที่มารับการรักษาในแผนกผู้ป่ยนอกวิทยาลัย แพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาลจำนวน 120 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความรู้ และพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพหลังผ่าตัดหัวใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 47.50 มีความสามารถในการทำกิจกรรมแบ่งตาม New York Heart association ในระดับที่ 2 กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพอยู่ใน ระดับดีมาก (\inline \bar{X} = 8.0, SD = 1.9) การรับรู้สมรรถนะแห่งตน ในระดับดี (\inline \bar{X} = 7.67, SD = 1.27), ส่วนการรับรู้ประโยชน์ และพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพหลังผ่าตัดหัวใจ อยู่ในระดับดี (\inline \bar{X} = 3.59, SD = 0.38, \inline \bar{X} = 2.27, SD = 0.52 ตามลำดับ) ส่วนการรับรู้อุปสรรคของพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพอยู่ใน ระดับน้อย ( \inline \bar{X} = 1.61, SD = 0.83) อย่างไรก็ตามเมื่อศึกษาความสัมพันธ์ของระยะเวลาหลังผ่าตัด ความสามารถในการทากิจกรรม การรับรู้ประโยชน์ และการรับรู้อุปสรรคพบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับ พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพหลังผ่าตัด แต่ความรู้และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนมีความสัมพันธ์ทางบวก กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

ผลจากการวิจัยสามารถนำมาเป็นแนวทางในการส่งเสริมให้ผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจมีความมั่นใจ ในการมีพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่องสามารถดารงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี

คำสำคัญ : พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ, การรับรู้สมรรถนะแห่งตน, ผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจ

 

Abstract

The purpose of this descriptive research was to examine the relationship between selected factors and health promotion behaviors of postoperative heart surgery patients. The study was performed based on Penderûs health promotion theory. A simple random sampling of 120 post operative heart surgery patients recruited from the Out-Patient Department of Bangkok Metropolitan Administration Medical College and Vajira Hospital. Data were collected by using the questionnaires of knowledge and health promotion behaviors after postoperative heart surgery. Data were analyzed using descriptive statistic and Pearsonûs product moment correlation coefficient.

Results showed that 47.50% of sample had functional class II of physical activities classified by New York Heart association. The mean scores of the knowledge of health promotion was in excellent level (\bar{X} = 8.0, SD = 1.9). In addition, the mean scores of perceived self-efficacy of health promotion behavior was in good level (\bar{X} = 7.67, SD = 1.27). Moreover, the mean scores of perceived benefit and health promotion behavior after heart surgery were at good level (\bar{X} = 3.59, SD = 0.38, \bar{X} = 2.27, SD = 0.52) respectively. However, the mean score of perceived barriers of health promotion behaviors was at low level (\bar{X} = 1.61, SD = 0.83). There was not a significant relationship between the period time after heart surgery, the physical activity, perceived benefits and barriers and health promotion behavior. On the other hand, the relationships between the knowledge and perceived self-efficacy and health promotion behavior were significant and positive (p < 0.01).

The result should be used as a guideline in promoting self-confidence of post operative heart surgery patients to enhance ongoing healthy life style and better quality of life.

Keywords : Health Promotion Behaviors, Self efficacy, Postoperative Heart Surgery Patients

Downloads

How to Cite

1.
ศรีไทรล้วน อ, วัตราดุลย์ ด. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจ. Thai J. Cardio-Thorac Nurs. [Internet]. 2013 May 11 [cited 2024 Apr. 20];23(2):17-30. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/8486