ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการรับรู้ความพร้อมก่อนออกจากโรงพยาบาลของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

Authors

  • ศรินรัตน์ ศรีประสงค์ อาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สมจิต หนุเจริญกุล ศาสตราจารย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • อรสา พันธุ์ภักดี รองศาสตราจารย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • รุ่งโรจน์ กฤตยพงษ์ ศาสตราจารย์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • คนึงนิจ พงศ์ถาวรกมล รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ธวัชชัย วรพงศธร รองศาสตราจารย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน, ความพร้อมก่อนออกจากโรงพยาบาล, ปัจจัยส่วนบุคคล, acute myocardial infarction, perceived readiness for discharge, personal factors

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายโดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิ จากงานวิจัยการทดสอบเชิงประจักษ์รูป แบบจำลองการทำหน้าที่ในกิจวัตรประจำวันในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายภายหลังออกจากโรงพยาบาล เพื่อศึกษาผลของปัจจัยส่วนบุคคล คือ เพศ อายุ รายได้ และระดับการศึกษาต่อระดับความพร้อมก่อนออกจาก โรงพยาบาลของผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว โดยใช้กรอบทฤษฎีการเปลี่ยนผ่าน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันในโรงพยาบาลจำนวน 212 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสอบถามการรับรู้ความพร้อมต่อการออกจากโรงพยาบาล ตรวจสอบความตรงตาม เนื้อหา และมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .81 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบของแมน-วิทนี ยู และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการวิจัย พบว่า การรับรู้ความพร้อมก่อนออกจากโรงพยาบาลของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายอยู่ในระดับสูง ยกเว้นด้านความรู้ที่จำเป็น ผู้ป่วยหญิงมีการรับรู้ความพร้อมก่อนออกจากโรงพยาบาลน้อยกว่า ผู้ป่วยชายอย่างมีนัยสำคัญ (z = -2.9, P < .05, r = 0.18) การศึกษาและอายุสามารถร่วมกันทำนาย การรับรู้ความพร้อมก่อนออกจากโรงพยาบาลได้ร้อยละ 13.2 (p <.05)

ข้อเสนอแนะ ผลการศึกษานี้สามารถประกอบการพัฒนาโปรแกรมเพื่อสร้างความพร้อมก่อนออกจาก โรงพยาบาลของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน โดยพิจาณาถึงปัจจัยส่วนบุคคลเป็นส่วนสำคัญ

คำสำคัญ : กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน, ความพร้อมก่อนออกจากโรงพยาบาล, ปัจจัยส่วนบุคคล

 

Abstract

This predictive correlational design was derived from a secondary analysis of the study on an empirical test of functional status model among discharged acute myocardial infarction (AMI) patients. The purpose of this study was to examine the influence of personal characteristics, including age, gender, income, and education on perceived readiness for hospital discharge in patients with AMI. Transition theory was used to guide this study. The sample consisted of 212 hospitalized patients having AMI. The instruments were a personal data form and the Readiness for Hospital Discharge Scale (RHDS). The instruments were tested for content validity, and the reliability of the RHDS was 0.81. Descriptive and inferential statistics were used to analyze the data.

The results of this study showed a significant difference between readiness for hospital discharge and gender (p < .05). Personal characteristics including education and age accounted for a 13.2% (p < .05) variance explained in the readiness for hospital discharge.

Conclusion: This study represents a first step towards identifying the association between perceived readiness for hospital discharge and personal characteristics. The development of readiness for hospital discharge interventions should take into account the effects of different personal characteristics in each individual with AMI.

Key words : acute myocardial infarction, perceived readiness for discharge, personal factors

Downloads

How to Cite

1.
ศรีประสงค์ ศ, หนุเจริญกุล ส, พันธุ์ภักดี อ, กฤตยพงษ์ ร, พงศ์ถาวรกมล ค, วรพงศธร ธ. ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการรับรู้ความพร้อมก่อนออกจากโรงพยาบาลของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน. Thai J. Cardio-Thorac Nurs. [Internet]. 2013 May 12 [cited 2024 Apr. 19];22(2):44-57. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/8516