สำรวจอุบัติการณ์ความเสี่ยงจากปัญหาสุขภาพในกลุ่มผู้ป่วยโรคลมชัก

Authors

  • เพ็ญจันทร์ แสนประสาน ครุศาสตร์มหาบัณฑิต (บริหารพยาบาล), รองผู้อำนวยการศูนย์โรคลมชัก สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
  • ชาคริยา ลิ่มอรุณ พยาบาลศาสตรบัณฑิต สาขาพยาบาลศาสตร์, พยาบาลวิชาชีพ ศูนย์โรคลมชัก สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
  • วราภรณ์ กรงทอง วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสถิติประยุกต์, นักชีวสถิติ ศูนย์โรคลมชัก สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
  • ราตรี ตาลเชื้อ พยาบาลศาสตรบัณฑิต สาขาพยาบาลศาสตร์, พยาบาลประจำการ ศูนย์โรคลมชัก สถาบันจุฬาภรณ์
  • อาภาภรณ์ อานามวงศ์ วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์, ผู้ช่วยนักวิจัย ศูนย์โรคลมชัก สถาบันจุฬาภรณ์

Keywords:

อุบัติการณ์, ความเสี่ยง, โรคลมชัก, ปัญหาสุขภาพ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวาง (cross sectional survey) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อผู้ป่วยโรคลมชัก และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอุบัติการณ์ความเสี่ยงที่เกิดขึ้น กลุ่ม ตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคลมชักที่เข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยนอกของศูนย์โรคลมชัก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 357 ราย โดยใช้แบบแบบประเมินความเสี่ยงในการเถิดอุบัติการณ์ 39 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติพรรณนาและสถิติไคสแควร์

ผลการศึกษาพบว่าอุบัติการณ์ที่พบมากที่สุดด้านร่างกาย คือเกิดบาดแผลขณะชักถึง ร้อยละ 43.14 ส่วนด้านจิตใจและสังคม พบว่าผู้ป่วยมีความวิตกกังวลและเครียดเกี่ยวกับโรค ถึงร้อยละ 67.98 มีการรับรู้ ว่าอาการชักมีอุปสรรคในการทำงาน ถึงร้อยละ 40.28 และเคยลืมรับประทานยา ถึงร้อยละ 61.02 ส่วน ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความเสี่ยงจากโรคลมชักพบว่า เพศชายและเพศหญิงมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ขณะชักแตกต่างกัน (p< .05) โดยเกิดกับเพศชาย ร้อยละ 11.05 และเกิดกับเพศหญิงเพียงร้อยละ 3.93 และอายุที่แตกต่างกันมีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลและเครียด เกี่ยวกับโรค การรับประทานยา การรับรู้คุณค่าในตนเอง รวมทั้งด้านสังคมและครอบครัว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)

ผลการศึกษานี้เป็นข้อมูลเชิงประจักษ์นำไปสู่การพัฒนาแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคลมชัก เพื่อลดความเสี่ยงและอันตรายจากอุบัติการณ์ไม่พึงประสงค็ในผู้ป่วยลมชักเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยโรคลมชัก

คำสำคัญ : อุบัติการณ์, ความเสี่ยง, โรคลมชัก, ปัญหาสุขภาพ

 

Abstract

This cross-sectional survey study aimed to determine the incidence rate of physical, selfesteem, psychosocial, and medicationûs behavior risks in patients with epilepsy. In addition, this study also aimed to investigate various factors that associated with each risk incident. The questionnaire of 39 self-assessment were completed by 357 patients during their follow up visit at epilepsy clinic, King Chulalongkorn Memorial Hospital. Data were analyzed using descriptive statistics and the correlation (Chi-Square)

The study showed that the incidents related to physical risks, patients experiencing abrasions during seizures was regarding the most common (43.1%). Amongst psychological risks, the most common risk found was anxiety and/or stress (68.0%). In addition, a significant proportion (61.0%) of patients reported that they have forgotten to take their medication. Motor vehicle accident is significantly related to gender (p < .05). The incidence of epilepsy in male was 11.0% which compared to 3.9% in female. Moreover, epilepsy patients among the variety of age have significantly correlated with high risk of stressed and anxiety, taking medication, self esteem, including family and society (p < .05).

The results obtained from this study were evidence-based practice to develop the treatment and care guidelines for patients with epilepsy in efforts to reduce possible future risk incidents and improving quality of life.

Downloads

How to Cite

1.
แสนประสาน เ, ลิ่มอรุณ ช, กรงทอง ว, ตาลเชื้อ ร, อานามวงศ์ อ. สำรวจอุบัติการณ์ความเสี่ยงจากปัญหาสุขภาพในกลุ่มผู้ป่วยโรคลมชัก. Thai J. Cardio-Thorac Nurs. [Internet]. 2013 May 12 [cited 2024 Mar. 29];21(2):50-62. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/8543