ผลของโปรแกรมกิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนาการมองโลกในแง่ดี ของนักศึกษาพยาบาล

Main Article Content

นฤมล จันทร์สุข
ชวนนท์ จันทร์สุข
เพ็ญศรี รอดพรม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมกิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนาการ  มองโลกในแง่ดีของนักศึกษาพยาบาล คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาล บรมราชชนนี ชัยนาท จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามการมองโลกในแง่ดี และโปรแกรมกิจกรรมกลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ภายหลังการทดลองนักศึกษาพยาบาลกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมกิจกรรมกลุ่มมีการมองโลกในแง่ดีสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  2) ภายหลังการทดลองนักศึกษาพยาบาลกลุ่มทดลองมีการมองโลกในแง่ดี สูงกว่านักศึกษาพยาบาลกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01  ดังนั้นจึงควรมีการทดลองติดตามผลในระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น เช่น  1 ภาคการศึกษา (4 เดือน) หรือมากกว่า เพื่อศึกษาผลของความคงทนจากการร่วมกิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนาการมองโลกในแง่ดีของนักศึกษาพยาบาล และควรมีการนำกิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนาการมองโลกในแง่ดี ไปใช้กับกลุ่มบุคคลอื่น ได้แก่ ผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

นฤมล จันทร์สุข, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท

อาจารย์งานจัดการศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท

ชวนนท์ จันทร์สุข, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท

อาจารย์ประจำฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท

เพ็ญศรี รอดพรม, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท

อาจารย์ประจำหลักสูตร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท

References

ฐิตวี แก้วพรสวรรค์ สิรินัดดา ปัญญาภาสและถิรพร ตั้งจิตติพร. (2555, ตุลาคม - ธันวาคม). ประสิทธิผลการทำกิจกรรมกลุ่มแนวพุทธต่อการพัฒนาความคิดเห็นทางคุณธรรม ด้านกัลยาณมิตรของวัยรุ่น. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 57(4), 413 - 426.

ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์.

วรางคณา รัชตะวรรณ. (2554). การศึกษาและพัฒนาการมองโลกในแง่ดีของนักเรียนวัยรุ่นโดยการให้คำปรึกษากลุ่ม. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาการให้คําปรึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศรีเรือน แก้วกังวาน. (2553). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2550). จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อสมา มาตยาบญุ. (2550). การใช้กิจกรรมกลุ่มเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเผชิญปัญหาและฝ่าฟันอุปสรรคของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยา. การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อัฐฉญา แพทย์ศาสตร์. (2552). ผลการปรึกษากลุ่มตามแนวทฤษฎีทางเลือกต่อวิธีการเผชิญปัญหาของนิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาการให้คําปรึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

Goleman, D. (2000). Working with Emotional Intelligence. New York : Bantam Books.

Reivich, K. (2010). Optimism and well-being. Comunique. 38(7), 10 - 12.

Seligman, M. E. (1998). Learned Optimism. New York : Simon & Schuster Inc.