ความเหลื่อมล้ำด้านการคลังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

Main Article Content

เรืองศักดิ์ เดชณุกูล
สมปอง สีชมพู

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสืบค้นความเหลื่อมล้ำด้านการคลังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ฐานเศรษฐกิจไทยกระจุกตัวในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ในเขตที่มีโรงงานอุตสาหกรรมและศูนย์การพาณิชย์ตั้งอยู่สามารถเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมมาก แต่ในพื้นที่เกษตรกรรมไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมหรือแหล่งท่องเที่ยว การจัดเก็บของท้องถิ่นย่อมน้อย เงินอุดหนุนมีลักษณะเอื้อพื้นที่เมืองมากกว่าชนบท การที่มีรายได้น้อยหมายถึงข้อจำกัดทางด้านรายจ่าย ซึ่งส่งผลต่อความคิดริเริ่มบริการสาธารณะใหม่ๆ ในการพัฒนาและตอบสนองความต้องการของประชาชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มาตรการลดความเหลื่อมล้ำทางการคลังท้องถิ่น คือ 1) การกระจายอำนาจ ให้ท้องถิ่นมีงบประมาณในการบริหารงานได้เพิ่มมากขึ้นและสามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้อย่างทั่วถึง การสร้างความเป็นธรรมของการคลัง การปรับปรุงโครงสร้างภาษีให้มีลักษณะก้าวหน้า เพิ่มภาษีหรือรายได้ของท้องถิ่นประเภทใหม่ๆ 2) ด้านรายได้ในการจัดเก็บภาษีและค่าธรรมเนียม กระจายรายได้ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมระหว่างท้องถิ่นที่มีรายได้น้อยกับท้องถิ่นที่มีรายได้มาก 3) ด้านรายได้จากภาษีแบ่งหรือภาษีฐานร่วม  รัฐจัดสรรให้ทุกท้องถิ่นเท่าเทียมกันเป็นรายหัวประชากร 4) ด้านเงินอุดหนุน ลดช่องว่างทางการคลังท้องถิ่นโดยการจัดสรรเงินอุดหนุนให้กับท้องถิ่นที่มีรายได้ไม่เพียงพอต่อการจัดบริการสาธารณะให้แก่ประชาชน ปรับสูตรของเงินอุดหนุนในลักษณะผกผันเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดสรรเงินอุดหนุน


            ในขณะเดียวกันแนวทางเพื่อสร้างประสิทธิภาพในการจัดการความเหลื่อมล้ำด้านการคลังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นั้น ควรปรับปรุงเงินอุดหนุนให้แก่ท้องถิ่น เพื่อให้เป็นระบบที่สร้างความเท่าเทียมในทางการคลัง ควรส่งเสริมให้ท้องถิ่น พัฒนาด้านรายได้-รายจ่าย สร้างสานึกและปลูกฝังความเป็นพลเมือง เพื่อลดปัญหาการหลบเลี่ยงการจ่ายภาษี ส่วนมาตรการทางคลังในการลดความไม่เท่าเทียมกันระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยแบ่งเป็นด้านการกระจายอำนาจ ด้านรายได้ในการจัดเก็บภาษีและค่าธรรมเนียม ด้านรายได้จากภาษีแบ่งหรือภาษีฐานร่วม และด้านเงินอุดหนุน

Article Details

บท
บทความวิชาการ
Author Biographies

เรืองศักดิ์ เดชณุกูล

อาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราชมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สมปอง สีชมพู

อาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราชมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

References

จรัส สุวรรณมาลา. (2553). ประชาธิปไตยทางการคลังไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ และดารุณี พุ่มแก้ว. (2558). ความเหลื่อมล้ำการคลังท้องถิ่นและแนวทางการปฏิรูปเงินอุดหนุน. กรุงเทพฯ : คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ และพิชิต รัตนพิบูลภพ. (2556). การคลังท้องถิ่นและการจัดสรรงบประมาณของสำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์. (2560). ความเหลื่อมล้ำการคลังท้องถิ่นและแนวทางขยายฐานรายได้ท้องถิ่น. บทสังเคราะห์ความรู้จากการวิจัย การคลังท้องถิ่นการขยายฐานรายได้และลดความเหลื่อมล้ำ. วารสารสถาบันพระปกเกล้า. ฉบับที่ มกราคม-เมษายน 2560, 118.

ธิดารัตน์ สืบญาติ (2557). ความเหลื่อมล้ำด้านการคลังท้องถิ่นของท้องถิ่นในเขตปริมณฑล. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธิดารัตน์ สืบญาติ. (2558). การคลังท้องถิ่น. วารสารสถาบันพระปกเกล้า. ฉบับเดือนกันยายน-ธันวาคม 2558, 126.

วีระศักดิ์ เครือเทพ. (2556). ถอดรหัสการจัดเก็บภาษีอากรของท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สรัล มารู. (2559). การปฏิรูประบบการคลัง (รายได้) ท้องถิ่นเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคม. สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายสรัล เข้าถึงได้จาก http://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?ID=1922).

อัชกรณ์ วงศ์ปรีดี และธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา. (2558). การกระจายอำนาจกับความเหลื่อมล้ำของการคลังท้องถิ่น: บทวิเคราะห์เงินอุดหนุนทั่วไป กรณีเปรียบเทียบระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศไทย. วารสารสถาบันพระปกเกล้า. พฤษภาคม – สิงหาคม 2558, 92.