ปัญหาและข้อเสนอแนะการบริหารหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ทวิศึกษา) ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 40

Main Article Content

คำภาสน์ บุญเติม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการบริหารหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ทวิศึกษา)  ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 40 และ 2) ศึกษาข้อเสนอแนะ  การบริหารหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ทวิศึกษา) ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 40 การวิจัยครั้งนี้ใช้การศึกษาประชากรทั้งหมด คือ ครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต  40 ที่เปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ทวิศึกษา) จำนวน 5 โรงเรียน  จำนวน 112 คน และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 2 ประเภท คือ แบบสอบถาม ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .250 – .727 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .922  และประเด็นการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


          ผลการวิจัยพบว่า


  1. ปัญหาการบริหารหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ทวิศึกษา) ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 40 โดยภาพรวมมีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตร รองลงมา คือ ด้านการปฏิบัติตามแผนการบริหารหลักสูตร และค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการวางแผนการบริหารหลักสูตร

  2. ข้อเสนอแนะต่อการบริหารหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ทวิศึกษา) ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 40 ที่สำคัญมีดังนี้ ควรมีวางแผนการดำเนินการบริหารจัดการหลักสูตรร่วมกับผู้บริหารและผู้ปกครองในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ควรจัดครูเข้าสอนตามความรู้ ความสามารถและลักษณะงานและเชิญผู้มีความรู้เชี่ยวชาญให้ความรู้แก่ครู มีการสำรวจแหล่งฝึกงานที่เหมาะกับผู้เรียนและหลักสูตร ควรมีการประชุม ชี้แจง สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้าง องค์ประกอบของหลักสูตรและ การวัดประเมินผลของหลักสูตรให้กับครู มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม กระบวนการใช้หลักสูตรที่สอดคล้องกับมาตรฐานและตัวบ่งชี้ ควรสนับสนุนทรัพยากรที่เอื้อต่อการจัดทำหลักสูตรฯ อย่างเพียงพอและเหมาะสมและส่งเสริมครูให้มีโอกาสเข้าอบรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ควรมีที่ปรึกษาจากสถาบันอาชีวศึกษา มีการแต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผลให้เป็นระบบและชัดเจน ครูผู้สอนควรกำกับติดตามนักเรียน อย่างต่อเนื่อง ควรสอบถามความต้องการของผู้ปกครอง ชุมชน และนักเรียน ในการจัดการศึกษา ควรนำปัญหาและข้อเสนอแนะนำมาเป็นข้อมูลในการวางแผนเพื่อปรับปรุงพัฒนาในการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพในปีต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

คำภาสน์ บุญเติม

นักศึกษาปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

References

จำปา สุขสว่าง. (2555). ปัญหาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาในกลุ่มเครือข่ายแกลงบูรพา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2. วิทยานิพนธ์สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ : สุรีวิทยาสาส์น.

อาภรณ์ทิพย์ เชื่องยาง. (2549). ปัญหาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากระบี่. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา) สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.