การเตรียมความพร้อมรับอุทกภัยของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอในเขตสุขภาพที่ 1, 2, และ 3

Authors

  • กาญจนา เอี่ยมอักษร
  • สุรชาติ ณ หนองคาย
  • ยุวนุช สัตยสมบูรณ์
  • วิริณธิ์ กิตติพิชัย

Keywords:

การเตรียมความพร้อมรับภัยพิบัติ, อุทกภัย, สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ, เขตสุขภาพ, disaster preparedness, flood, district health offices, regional health

Abstract

บทคัดย่อ

การเตรียมความพร้อมรับอุทกภัยมีความสำคัญต่อต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการเตรียมความพร้อมรับอุทกภัย ของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอในเขตสุขภาพที่ 1, 2 และ 3 ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากผู้รับผิดชอบงานเตรียมความพร้อมรับอุทกภัยจำนวน 155 คน สถิติวิเคราะห์ใช้ Independent t-testและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ   เพียร์สัน ที่ระดับสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า การเตรียมความพร้อมรับอุทกภัยของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ อยู่ในระดับดี (ร้อยละ 76.13) ความรู้ การรับรู้ ในการเตรียมความพร้อมรับอุทกภัย และการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในการเตรียมความพร้อมรับอุทกภัยอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 90.3, 60.6 และ 63.2 ตามลำดับ) สำนักงานที่มีประสบการณ์ในการรับอุทกภัยในรอบ10 ปี3 ครั้งขึ้นไป มีคะแนนเฉลี่ยการเตรียมความพร้อมรับอุทกภัยมากกว่าสำนักงานที่มีประสบการณ์น้อยกว่าหรือเท่ากับ 2 ครั้งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.025) การมีส่วนร่วมของหน่วยงานเครือข่ายในการเตรียมความพร้อมรับอุทกภัยสัมพันธ์กับการเตรียมความพร้อมรับอุทกภัย (p = 0.003) ข้อเสนอแนะคือ ผู้บริหารเขตสุขภาพควรมีนโยบายจัดทำแผนและฝึกปฏิบัติการเตรียมความพร้อมรับอุทกภัยร่วมกันระหว่างสำนักงานสาธารณสุขอำเภอที่มีประสบการณ์น้อย (0-2 ครั้ง) กับสำนักงานที่มีประสบการณ์รับอุทกภัยตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป เพื่อให้สำนักงานสาธารณสุขทุกแห่งมีการเตรียมความพร้อมในระดับดี

Flood Preparedness by District Health Offices in Regional Health 1, 2, and 3

This descriptive research purpose aimed to survey flood preparedness of district health offices in health regions 1, 2 and 3. Respondents were chief health district officers. The sample comprised 155 offices. Data was collected by questionnaire and analyzed using descriptive statistics and statistical analysis was performed using percentage, average, standard deviation, independent t-test and Pearson's correlation coefficient with level of statistical significance set at 0.05. The results showed that the flood preparedness of the district health offices was good (76.13%). Knowledge of flood preparedness, perceptions of flood preparedness and participation in the preparedness of flooding were at good levels (90.32%, 60.6%, and 63.2%, respectively). Flooding experiences and preparedness in the regional health offices significantly differed (p = 0.025). Knowledge of flood preparedness and perceptions of flood preparedness were not related to the preparedness of floods (p = 0.134 and 0.770, respectively). Participation in the preparedness of flooding was related to flood preparedness (p = 0.003). It was recommended that the district health officers should be working as a network to organize joint activities to promote participation and achieve sustainable engagement. The activities should cover defining roles and duties and flood preparedness planning.

Downloads

Published

2017-05-24

Issue

Section

Original Articles