การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพต่อการปวดไหล่ในพนักงานผลิตและประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

Authors

  • สุนิสา ชายเกลี้ยง Faculty of Public Health, Khon Kaen University Khon Kaen , Thailand
  • อารยา ปานนาค สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Keywords:

การยศาสตร์, การปวดไหล่, เมตริกความเสี่ยงต่อสุขภาพ, ตรวจสอบชิ้นงานอิเลกทรอนิกส์, ergonomics, health risk matrix, shoulder pain, electronic inspection

Abstract

ศึกษาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Study) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพต่อการปวดไหล่ของพนักงานอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานผลิตและประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของโรงงานขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจากการสุ่มตัวอย่างอย่างมีระบบ จำนวน 168 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ ใช้เครื่องมือประเมินรยางค์ส่วนบน RULA และประเมินความรู้สึกไม่สบายบริเวณไหล่ใช้ CMDQ วิเคราะห์ความเสี่ยงต่อการปวดไหล่โดยใช้เมตริกความเสี่ยงด้านสุขภาพที่พิจารณาระดับโอกาสสัมผัสปัจจัยเสี่ยงทางการยศาสตร์ร่วมกับระดับความรุนแรงของความรู้สึกไม่สบายบริเวณไหล่ ผลการศึกษาพบว่า พนักงานมีความเสี่ยงต่อการปวดไหล่ตั้งแต่ระดับปานกลางขึ้นไปร้อยละ 54.9 คือ มีความเสี่ยงระดับปานกลางร้อยละ 34.0 ความเสี่ยงสูงร้อยละ 16.0 และความเสี่ยงสูงมากร้อยละ 4.9 เมื่อแยกตามตำแหน่งงาน พบว่า ตำแหน่งงานที่มีความเสี่ยงระดับสูงมาก ต้องแก้ไขทันทีพบสูงสุด คือ งานตรวจสอบชิ้นงานใต้โคมไฟ และรองลงมาคือ ตำแหน่งงานตรวจสอบชิ้นงานใต้กล้องจุลทรรศน์ ผลศึกษานี้เสนอแนะให้ดำเนินการตรวจสอบ หรือปรับปรุงและแก้ไขสถานีงานให้ถูกหลักทางการยศาสตร์ในงานตรวจสอบชิ้นงานเพื่อป้องกันโรคปวดไหล่เรื้อรังในพนักงานผลิตและประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์นี้ โดยใช้เมตริกความเสี่ยงต่อสุขภาพในการเฝ้าระวังการปวดไหล่ของพนักงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์หรือพนักงานที่มีลักษณะการทำงานคล้ายคลึงกันได้

Health Risk Assessment of Shoulder Pain among Electronic Workers

This cross-sectional study aimed to assess the health risk of shoulder pain (SP) among electronic factory workers. Subjects were 168 electronic factory workers from one large electronic factory in northeast Thailand. Data were collected by ergonomics risk assessment using the Rapid Upper Limb Assessment (RULA) tool and shoulder discomfort assessment using the Cornell Muscular Discomfort Questionnaire (CMDQ). The health risk assessment of SP was analyzed using a risk matrix of covariation between risk levels of ergonomic and discomfort. The results showed most workers (54.9%) had health risks on shoulder pain at least at a moderate level (34.0%), followed by high (16.0%) and very high levels (4.9%). Considering the differing tasks or job positions, SP risk was mostly found at very high risk level among workers of inspection tasks using a lamp, followed by inspection task using a microscope. These results suggested that a program is needed to improve the inspection workstation and ergonomics training should be provided for electronic workers to prevent chronic shoulder pain. The findings of the  SP risk matrix is very useful for surveillance programs of musculoskeletal diseases among industrial workers.

Author Biography

สุนิสา ชายเกลี้ยง, Faculty of Public Health, Khon Kaen University Khon Kaen , Thailand

Department of Environmental and Occupational Health and Safety

Downloads

Published

2017-05-24

Issue

Section

Original Articles