ความชุกของคริปโตสปอริเดียม และไกอาร์เดีย ในแหล่งน้ำกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา ประเทศไทย ด้วยเทคนิคการตรวจภายใต้กล้องจุลทรรศน์ โดยเปรียบเทียบวิธี การย้อมสีอย่างง่าย การย้อมสีชั่วคราว และการย้อมสีถาวร

Authors

  • Kritpaphat Tantiamornkul Division of Microbiology and Parasitology, School of Medical Sciences, University of Phayao
  • Touchchapol Mataradchakul Division of Microbiology and Parasitology, School of Medical Sciences, University of Phayao

Keywords:

คริปโตสปอริเดียม, ไกอาร์เดีย, กล้องจุลทรรศน์, กว๊านพะเยา, จังหวัดพะเยา

Abstract

คริปโตสปอริเดียม และไกอาร์เดีย เป็นโปรโตซัวในลำไส้ ซึ่งปนเปื้อนอยู่ในอาหาร น้ำ รวมถึงในแหล่งน้ำธรรมชาติ ส่งผลกระทบต่อทั่วโลก เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตด้วยโรคอุจจาระร่วงในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความชุกของคริปโตสปอริเดียมและไกอาร์เดียในตัวอย่างน้ำกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา รวมทั้งสิ้น 70 ตัวอย่าง และเปรียบเทียบเทคนิคมาตรฐานการตรวจหาโปรโตซัวด้วยกล้องจุลทรรศน์โดยการย้อมสีที่แตกต่างกัน ผลการศึกษาพบโอโอซีสต์ของคริปโตสปอริเดียมทั้งหมด 37 ตัวอย่าง (ร้อยละ 52.86) โดยวิธีการย้อมสีถาวร (DMSO) พบโปรโตซัวมากที่สุด 30 ตัวอย่าง (ร้อยละ 42.86) ส่วนซีสต์ของไกอาร์เดียตรวจพบ 15 ตัวอย่าง (ร้อยละ 21.43) โดยการย้อมสีถาวร (Trichrome) พบโปรโตซัวมากที่สุด 14 ตัวอย่าง (ร้อยละ 20) ความสอดคล้องกันในการตรวจหาโอโอซีสต์ของคริปโตสปอริเดียมพบว่า มีความสอดคล้องกันระดับพอใช้ในการย้อมสีทั้ง 3 วิธี สัมประสิทธิ์แคปปา เท่ากับ 0.29-0.35 ในขณะที่การตรวจหาซีสต์ของไกอาร์เดียพบว่า การย้อมสีชั่วคราวต่อการย้อมสีถาวรมีความสอดคล้องกันในระดับดี สัมประสิทธิ์แคปปา เท่ากับ 0.70 ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการค้นหาโปรโตซัว และพัฒนาเทคนิคที่เหมาะสมเพื่อเฝ้าระวังการติดต่อของโรคจากแหล่งน้ำต่อไป

Downloads

Published

2018-12-28

Issue

Section

Original Articles