การพัฒนาโปรแกรมเพิ่มพูนประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และความสุขในการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย

Authors

  • นงนุช เอกตระกูล
  • สุนีย์ เหมะประสิทธิ์

Keywords:

ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์, ความสุขในการเรียนรู้, กิจกรรมชมรมวิทยาศาสตร์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้โปรแกรมเพิ่มพูนประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และความสุขในการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย แบบแผนการวิจัยที่ใช้ คือ One Group Pretest-Posttest Design กลุ่มทดลองคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ1)แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 3) แบบประเมินความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ระหว่างเรียน 4) แบบสอบถามวัดความสุขในการเรียนรู้และ 5) แบบสะท้อนผลการเรียนรู้ของนักเรียน สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ t-test for Dependent Samples และ t-test for One Sample ผลการวิจัยพบว่า

  1. กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ระหว่างเรียนในแต่ละรอบสูงขึ้น คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (ร้อยละ 60) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
  2. กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความสุขในการเรียนรู้ก่อนและหลังเรียนไม่แตกต่างกัน โดยคะแนนเฉลี่ยความสุขในการเรียนรู้หลังเรียนอยู่ในระดับมาก ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (ค่าเฉลี่ยมากกว่า 3.51) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01

References

กัญญารัตน์ โคจร. (2554). การพัฒนารูปแบบ
การเรียนรู้การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
CPS Learning Model เรื่องสารและสมบัติ
ของสารสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1
ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. (สาขาวิชา วิทยา
ศาสตรการศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิต
วิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ถ่ายเอกสาร.
ขัติยา จันสังสา. (2555). ผลการใช้ชุดกิจกรรม
เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์และทักษะการคิดขั้นสูงสำหรับ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีความ
สามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์โรงเรียน
ปรินส์รอยแยลวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่.
ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (สาขาวิชา
วิทยาศาสตร์การศึกษา). เชียงใหม่: บัณฑิต
วิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ถ่ายเอกสาร.
นงนุช เอกตระกูล. (2560). การพัฒนาเครื่องมือ
ประเมินความสามารถในการแก้ปัญหาอย่าง
สร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. การประชุมวิชาการ
เสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้ง
ที่ 8 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏ
สวนสุนันทา.
นันทพร แซ่เหลื่อง. (2557). ศึกษาความสามารถ
ในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของเด็กที่มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้ชุดกิจกรรม
เพิ่มพูนประสบการณ์วิชาวิทยาศาสตร์.
ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (สาขาวิชา การศึกษา
พิเศษ). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ถ่ายเอกสาร.
มณฑา นิระทัย; และ กฤษดา สงวนสิน. (2557).
ศึกษาผลการจัดกิจกรรมเพิ่มพูน
ประสบการณ์ของนักเรียนที่มีความสามารถ
พิเศษทางวิทยาศาสตร์ระดับชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 4-6.กรุงเทพฯ: สืบค้นเมื่อ
20 ตุลาคม 2557.จาก
https://satitkasetgifted.weebly.com/
Uploads/3/1/2/0/312
ยุพาพันธ์ มินวงษ์. (2558). การพัฒนารูปแบบ
การเรียนการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์ที่
เน้นการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (3P) ของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ปริญญา
นิพนธ์ กศ.ด. (สาขาวิชา วิทยาศาสตร
การศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
ศิริพร แก้วอ่อน. (2557). การพัฒนา
ความสามารถและเจตคิในการแก้ปัญหา
อย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ตอนปลายในโครงการห้องเรียนพิเศษ
วิทยาศาสตร์. ปริญญานิพนธ์
กศ.ม. (วิจัยพฤติกรรมศาสตรประยุกต์).
กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
สำนักทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2558).
ค่าสถิติพื้นฐานทั่วประเทศ. สืบค้นเมื่อ 28
สิงหาคม 2558, จาก
https://www.onetresult.niets.or.th/Announ
cementWeb/Notice/FrBasicStat.aspx
____. (2559). ผลการสอบ O-NET. สืบค้นเมื่อ
3 เมษายน 2559, จาก
https://www.unigang.com/Article/12288
สุนีย์ เหมะประสิทธิ์. (2539,กันยายน). การวิจัย
เชิงปฏิบัติการ. ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ. 2(2): 134-143.
____. (2549). วิทยาศาสตร์สำหรับครูประถม.
(เอกสารคำสอน). กรุงเทพฯ การเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ช่วงชั้นที่ 2. กรุงเทพฯ:
สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษาคณะ
ศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
____. (2549). เอกสารแนวทางการจัดการเรียนรู้
เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระ
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2.
กรุงเทพฯ: สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษา.
สุนีย์ เหมะประสิทธิ์; และคนอื่นๆ. (2546). ชุด
กิจกรรมสำหรับครูเพื่อพัฒนาศักยภาพ
การเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. กรุงเทพฯ:
ไทยวัฒนาพานิช.
โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี. (2551).หลักสูตร
สถานศึกษาโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี.
กรุงเทพฯ:
Monaca, Gloria La; Kalwanaski,
Melissa; &Terndrup,Terri. (2558.)
Learning Enrichment At Westmont
Hilltop.Retrieved November 20,
2015, from
https://www.whsd.org/uploaded
Nasri, N.; et al. (2010). Effectiveness
of School Wide Enrichment Model
(MPSS) in Mara Junior Science
College.Retrieved November 20,
2015, From
https://www.sciencedirect.com.
Steckler, Rozeanne. (2558.) The
Science Enrichment Program.
Retrieved November 20, 2015,
From https://
www.education.nacse.org

Downloads

Published

2019-01-07