รูปแบบการจัดการศึกษาบูรณาการที่เน้นกระบวนการโค้ชและการเสริมสร้าง Growth Mindset เพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองสร้างสรรค์ของนักศึกษาพยาบาล

Authors

  • วัชรี อมรโรจน์วรวุฒิ และคณะ BCNKK

Keywords:

จิตอาสา และความใฝ่รู้ คำสำคัญ: รูปแบบการจัดการศึกษาบูรณาการ, กระบวนการโค้ช,  Growth Mindset,พลเมืองสร้างสรรค์

Abstract

บทคัดย่อ

              การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา ( Research and Development)  เพื่อพัฒนารูปแบบ

การจัดการศึกษาบูรณาการที่เน้นกระบวนการโค้ชและการเสริมสร้าง Growth mindset เพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองสร้างสรรค์ของนักศึกษาพยาบาลและเพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการศึกษาบูรณาการที่เน้นกระบวนการโค้ชและการเสริมสร้าง Growth mindset เพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองสร้างสรรค์ของนักศึกษาพยาบาล ศึกษาในนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก ปีการศึกษา 2560 – 2561 จำนวน 77 คน ใน ระหว่าง 1 สิงหาคม 2560 – 30 พฤศจิกายน 2562 ประกอบด้วย 4 ระยะ 9 ขั้นตอน 

              ผลการวิจัย พบว่า

                   1.  รูปแบบการจัดการศึกษาบูรณาการที่เน้นกระบวนการโค้ชและการเสริมสร้าง Growth mindset เพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองสร้างสรรค์ของนักศึกษาพยาบาล มีแนวคิดพื้นฐานมาจาก 1) แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ 2) แนวคิดการโค้ช 3) การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยมุ่งจัดการศึกษาบูรณาการที่เน้นกระบวนการโค้ชและการเสริมสร้าง Growth Mindset ทั้งในอาจารย์ผู้สอนและผู้เรียนและพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองสร้างสรรค์ของนักศึกษาพยาบาล โดยมีกระบวนการ 4 ขั้นตอน ได้แก่ การปรับกระบวนทัศน์ การประยุกต์ใช้ การสะท้อนคิด การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง             โดยมีปัจจัยสนับสนุน คือ บทบาท Expert coach, Administer coach และต้นทุนของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น คือ นวัตกรรมระบบครอบครัวเสมือน                       2.   การประเมิน Growth Mindset ของอาจารย์ผู้สอนพบว่ามีความเชื่อมั่นในศักยภาพของผู้เรียน มีความไว้วางใจ ยอมรับความแตกต่างของผู้เรียน และพร้อมเรียนรู้ไปกับผู้เรียน สามารถปรับวิธีการสอนจากข้อจำกัดของเวลา โดยใช้เทคโนโลยี ใช้พลังคำถาม กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดของผู้เรียนพบว่า ผู้เรียนเห็นประโยชน์การสื่อสารด้วยสุนทรียสนทนา เกิดการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมลดความเห็นแก่ตัว เห็นคุณค่าของการทำงานเป็นทีม ยอมรับความแตกต่างของความคิด                   3.  การประเมินคุณลักษณะพลเมืองสร้างสรรค์ของนักศึกษาพยาบาลพบว่า นักศึกษา พยาบาลมีคุณลักษณะการเป็นพลเมืองเชิงสร้างสรรค์ในภาพรวมในระดับมากค่าเฉลี่ย 4.29(SD.0.55) คุณลักษณะด้านความซื่อสัตย์มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.57 SD.0.50) รองลงมาได้แก่ ด้านจิตสำนึกด้วยใจรัก ด้านความเสียสละ และด้านจิตอาสา ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรม  (ค่าเฉลี่ย 3.90 SD.0.75) และด้านการคิดเป็นระบบและแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (ค่าเฉลี่ย 3.98 SD.0.73) และคุณลักษณะโดดเด่นของบัณฑิต คือ ความรับผิดชอบ จิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์              จิตอาสา และความใฝ่รู้ คำสำคัญ: รูปแบบการจัดการศึกษาบูรณาการ, กระบวนการโค้ช,  Growth Mindset,พลเมืองสร้างสรรค์

References

เอกสารอ้างอิง
จุรี แสนสุข, นิระมล สมตัว, วิไลวรรณ วัฒนานนท์, และแสงดาว จันทร์ดา. (2562). ผลการจัดการศึกษา แบบบูรณาการโดยใช้ระบบครอบครัวเสมือนต่อความคงทนของอัตลักษณ์จิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของบัณฑิตพยาบาล. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น.
เพลินตา พรหมบัวศรีและคณะ. (2560). รูปแบบการศึกษาบูรณาการชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ การโค้ช การสะท้อนคิด และการใช้พลังคำถาม วิทยาลัยพยาบาล สถาบันพระบรมราชชนก.
มกราพันธุ์ จูฑะรสก. (2551). การคิดเป็นระบบ: การประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน (Systems thinking: Teaching Application). โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก. กรุงเทพฯ:บริษัทธนาเพรส จำกัด.
มกราพันธ์ จูฑะรสกะ และอณิษฐา จูฑะรสกะ. (2559). การสะท้อนคิด:กระบวนการคิดอย่างเป็นระบบเชิงสร้างสรรค์ด้วยตะกร้า 3 ใบ. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.
มกราพันธุ์ จูฑะรสก, ลิลลี่ ศิริพร และอณิษฐา จูฑะรสก. (2556). การปฏิรูปการผลิตและพัฒนากำลังคนด้านสาธารณสุขไทย บริบทวิทยาลัย สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข เพื่อสร้าง อัตลักษณ์จิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์. ใน มกราพันธุ์ จูฑะรสก และอณิษฐา จูฑะรสก. (บรรณาธิการ) .การจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงสู่องค์กรแห่งความสุข บนฐาน “จิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ภายใต้ระบบครอบครัวเสมือน” ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.
มกราพันธุ์ จูฑะรสก,วัชรี อมรโรจน์วรวุฒิ และศักดิ์ขรินทร์ นรสาร. (2551). การพัฒนาหลักสูตรการพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบสำหรับอาจารย์พยาบาล.” การประชุมวิชาการการวิจัยทางการศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 13. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.).นนทบุรี: โรงพิมพ์ และทำปกเจริญผล.
ศุกรใจ เจริญสุขและคณะ. (2558). การพัฒนาหลักสูตรสำหรับพัฒนาอาจารยในการจัดการศึกษาแบบบูรณาการ เพื่อพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบและจิตบริการด้วยหัวใจความความเป็นมนุษย์ ในสังคมพหุวัฒนธรรม.วารสารสภาการพยาบาล,30(3).25-38.
ศุกรใจ เจริญสุขและคณะ.(2559). ผลการสอนที่เนนการคิดอยางเปนระบบและจิตสํานึกสาธารณะในบริบทของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตรสุขภาพ,10(2).61-71.
สงศรี กิตติรักษตระกูลและคณะ. (2554).การพัฒนารูปแบบเครือขายจิตบริการดวยหัวใจความเปนมนุษยของวิทยาลัยสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก.วารสารกองการพยาบาล,38(1):16-30.
สถาบันพระบรมราชชนก.(2556). คู่มือการดำเนินการเพื่อให้เกิดอัตลักษณ์บัณฑิต สถาบันพระบรมราชชนก. นนทบุรี:ยุทธรินทร์ การพิมพ์.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ:บริษัท พริกหวาน กราฟฟิค จำกัด.
สาลิกา เมธนาวิน และคณะ. (2552). “การปฏิรูปการจัดการศึกษาของสถาบันการศึกษาในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก” การประชุมทางวิชาการ การวัยทางการศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 13. วันที่ 10-11 กันยายน 2552. ณโรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
แสงดาว จันทร์ดา, นิระมล สมตัว, จุรี แสนสุข, รัตน์ดาวรรณ คลังกลาง, วิไลวรรณ วัฒนานนท์. (2562). ความคงทนของการจัดการศึกษาแบบบูรณาการโยใช้ระบบครอบครัวเสมือนต่อคุณลักษณะการเป็นพลเมืองสร้างสรรค์ของบัณฑิตพยาบาล. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น.
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2554). การพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษา. พิมพลักษณ์, กรุงเทพฯ: อาร์ แอนด์ เอ็น ปริ้นท์.
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2554). นวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้สู่ความเป็นพลเมือง. กรุงเทพฯ: อาร์ แอนด์ เอ็น ปริ้นท์.
วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2557). การโค้ชเพื่อการรู้คิด: Cognitive coaching. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์ การพิมพ์.
วิจารณ์ พานิช. (2556). ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง. กรุงเทพฯ: เอสอาร์พริ้นติ้งแมสโปรดักส์ จำกัด.
Joseph O’Connor & Ian McDermott. (2001). The Art of Systems Thinking. แปลเรียบเรียงโดยวีรวุธ มาฆะสิรานนท์ และณัฐพงศ์ เกศมาริษ (2544). บริษัทเอ็กซเปอร์เน็ท จำกัด.
Senge, Peter. (1993). The Fifth Discipline: The Art & Practice of the Learning Organization. London: Century Business.

Downloads

Published

2019-12-25