การจัดสวัสดิการชุมชนผ่านกลุ่มออมทรัพย์: ทางเลือกในการลดความเหลื่มล้ำทางสังคมในชนบทไทย

Main Article Content

Awae Masae อาแว มะแส

Abstract

Abstract

The success of the overall development following the mainstream concept in developing countries may be apparent with respect to economic growth and modern infrastructure development, but problems remain in the provision of equitable welfare to all groups of people. In Thailand, the state welfare system has several limitations regarding people’s access, coverage and quality of welfares provided. More often the majority poor living in rural areas are disadvantaged. Additionally welfares provided by the private sector often involve high costs so that the poor are unlikely to have enough power to invest. These emerging problems have hastened several rural communities to seek alternatives in creating their own welfare system by means of organizing resource-pool groups in the form of savings groups that enable them to allocate a portion of profits for welfare provision in various aspects. Based on reviewing related documents and analyzing successful cases of community-based savings groups with welfare arrangement located in different regions of the country, it is found that welfare provision through savings groups covers wider aspects of human life cycle, ranging from celebrating newly born baby, scholarship, healthcare, elderly support, to funeral support. This welfare provision is made possible through savings groups as continual effort is made to accumulate savings from members and manage the groups by means of community participation. The management arrangement involves low costs and is easily accessible. This form of community-based welfare provision appears to be a promising alternative for social inequality reduction among rural settlers in Thailand.

Keywords: savings groups, , community-based welfare, social inequality, rural Thailand

บทคัดย่อ 

การ พัฒนาในประเทศกำลังพัฒนาที่เดินตามแนวทางกระแสหลัก แม้จะประสบผลสำเร็จในการสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐานให้ทันสมัย แต่มักจะมีปัญหาในการจัดสวัสดิการให้ทั่วถึงคนทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกัน    ในประเทศไทยระบบสวัสดิการที่จัดโดยภาครัฐมักจะมีข้อจำกัดในการเข้าถึง ความครอบคลุม และคุณภาพที่ได้รับ โดยผู้ที่เสียเปรียบมักจะเป็นคนจนที่ส่วนมากอาศัยอยู่ในชนบท ในขณะที่สวัสดิการที่จัดโดยภาคเอกชนมีต้นทุนสูง ทำให้คนเหล่านี้ไม่มีกำลังเพียงพอที่จะลงทุนเพื่อใช้บริการ ปัญหาดังกล่าวนี้ได้กระตุ้นให้ชุมชนชนบทหลายชุมชนพยายามหาทางเลือกในการ สร้างระบบสวัสดิการด้วยตนเอง ด้วยการรวมกลุ่มระดมทรัพยากรจากสมาชิกในรูปของกลุ่มออมทรัพย์ และนำผลกำไรจากการดำเนินงานบางส่วนมาจัดสรรเป็นสวัสดิการด้านต่างๆตามความ เหมาะสม จากการศึกษางานเขียนและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มออมทรัพย์ และการวิเคราะห์กรณีศึกษากลุ่มออมทรัพย์ที่มีการจัดสวัสดิการประสบผลสำเร็จ หลายชุมชน ซึ่งกระจายอยู่ในภูมิภาคต่างๆของประเทศไทย พบว่า ลักษณะของสวัสดิการที่จัดโดยกลุ่มออมทรัพย์ของชุมชนมีความครอบคลุมกว้าง ทั้งการรับขวัญเด็กเกิดใหม่ ทุนการศึกษา การรักษาพยาบาล การช่วยเหลือผู้สูงอายุ และการฌาปนกิจ  หรืออาจจะเรียกว่า “ตลอดวงจรชีวิต” ด้วยรูปแบบการระดมทุนที่เน้นการออมอย่างต่อเนื่องของสมาชิก และใช้แนวทางการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมโดยคนในชุมชน ซึ่งมีต้นทุนต่ำและสามารถเข้าถึงได้ง่าย การจัดสวัสดิการฐานชุมชนในลักษณะนี้น่าจะเป็นทางเลือกในการลดความเหลื่อมล้ำ ทางสังคมสำหรับชาวชนบทได้อย่างดี

คำสำคัญ : กลุ่มออมทรัพย์ สวัสดิการฐานชุมชน ความเหลื่อมล้ำทางสังคม ชนบทไทย

 

Article Details

How to Cite
อาแว มะแส A. M. (2015). การจัดสวัสดิการชุมชนผ่านกลุ่มออมทรัพย์: ทางเลือกในการลดความเหลื่มล้ำทางสังคมในชนบทไทย. Journal of Social Development and Management Strategy, 14(2). Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jsd/article/view/25754
Section
บทความวิจัย Research Article