ความเหลื่อมล้ำในที่ดินทำกิน: ปัญหาและทางออก

Main Article Content

ธันภัทร โคตรสิงห์ Thannapat Khotsing

Abstract

ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงทรัพยากรที่ดินในสังคมไทยขยายตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการมุ่งพัฒนาประเทศที่เน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างไม่ได้มีการพัฒนาแบบองค์รวม มีเกษตรกรจำนวนมากต้องประสบกับปัญหาไร้ที่ดินทำกินในขณะที่มีนายทุนร่ำรวยครอบครองที่ดินมากขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าที่ผ่านมารัฐบาลมีความพยายามที่จะประกาศใช้นโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาด้านที่ดินในรูปแบบต่างๆ แต่กลับพบว่าระบบกฎหมายที่รัฐดำเนินการไม่มีประสิทธิภาพ ทั้งยังนำมาซึ่งปัญหาความขัดแย้ง จนทำให้ประชาชนต้องลุกขึ้นมาขับเคลื่อนเพื่อเรียกร้องสิทธิในการดูแลและเข้าถึงทรัพยากรในรูปแบบของการจัดการร่วมกัน ประชาชนจำนวนหนึ่งนำเสนอหลักการ “สิทธิชุมชน” ซึ่งเป็นแนวทางที่สวนกระแสจากแนวทางการบริหารจัดการเดิมที่รัฐเป็นศูนย์กลางในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมด การดำเนินงานสิทธิชุมชนในช่วงเวลาที่ผ่านมาได้เกิดภาคปฏิบัติในรูปแบบของนโยบายโฉนดชุมชน ซึ่งทำให้แนวคิดสิทธิชุมชนได้รับความสนใจในวงกว้างมากขึ้น อย่างไรก็ตามหลักการสิทธิชุมชนยังคงมีความเป็นนามธรรมสูง และยังต้องอาศัยมาตรการในเชิงการปฏิรูปอีกหลายแนวทางจึงจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในการจัดการที่ดินได้ เช่น การเก็บภาษีทรัพย์สินในอัตราก้าวหน้า และการจัดตั้งธนาคารที่ดิน

Article Details

How to Cite
Thannapat Khotsing ธ. . โ. (2016). ความเหลื่อมล้ำในที่ดินทำกิน: ปัญหาและทางออก. Journal of Social Development and Management Strategy, 18, 63–92. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jsd/article/view/62624
Section
บทความวิชาการ Viewpoint