การประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น ในการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าชุมชนริมลำน้ำชี ของชุมชนบ้านมะระ ตำบลหนองเต็ง อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

อุทิศ ทาหอม Utis Tahom
สำราญ ธุระตา Samran Dhurata

Abstract

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาพัฒนาการป่าชุมชนริมลำน้ำชีของชุมชนบ้านมะระ 2) เพื่อศึกษาองค์ความรู้ทางวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่นในการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าชุมชนริมลำน้ำชีบ้านมะระ และ3. เพื่อประยุกต์ใช้วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่นในการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าชุมชนริมลำน้ำชีของชุมชนบ้านมะระ ตำบลหนองเต็ง อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ คณะผู้วิจัยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์ทรัพยากรจากป่าชุมชนริมลำชีทั้งบริโภค และจำหน่าย เช่น เห็ดป่า หน่อไม้ป่า  ผักป่า ล่าสัตว์ ตัดฟืน เผาถ่าน รวมถึงสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ เป็นต้น ผลการศึกษาพบว่า ได้ข้อมูลองค์ความรู้ 5 ด้าน คือ 1) องค์ความรู้ด้านพัฒนาการป่าชุมชนริมลำน้ำชี 2) องค์ความรู้ด้านวัฒนธรรมการใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนริมลำน้ำชี 3) องค์ความรู้ด้านวัฒนธรรมทางเศรษฐกิจจากป่าชุมชนริมลำน้ำชี 4) องค์ความรู้ด้านวัฒนธรรมความเชื่อเกี่ยวกับผีปู่ตา 5) องค์ความรู้ด้านความเชื่อเกี่ยวกับการปฏิบัติตนในการเข้าไปใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนริมลำน้ำชีและนำองค์ความรู้ดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าชุมชนริมลำน้ำชีจนนำไปสู่การกำหนดกฎกติกาการใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนริมลำน้ำชี เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์จากป่า และเกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์พื้นฟูป่าริมลำน้ำชี โดยการจัดกิจกรรมบวชป่า ปลูกป่า ขึ้นในวันที่ 2 สิงหาคม 2559 นอกจากนี้ผลจากดำเนินการวิจัยส่งผลให้คนในชุมชนยังได้เข้าใจและตระหนักถึงผลกระทบของการเผาป่า จนนำไปสู่การปรับเปลี่ยนแนวคิดการใช้ประโยชน์ให้เกิดความคุ้มค่าของทรัพยากรภายในป่าชุมชนริมลำน้ำชี โดยการนำ ไผ่ป่า ดอกกระเจียว มันป่า เป็นต้น มาปลูกตามหัวไร่ปลายนา เพื่อสร้างฐานอาหารไว้สำหรับอนาคตของชุมชน 

คำสำคัญ การประยุกต์  วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ การอนุรักษ์ฟื้นฟู 

 

The Application of Local Cultural Knowledge in Conserving Community Forest along the Chi River in The Ban Mara Community of

Nong Teng Sub-district, Krasung District,

Buriram Province Thailand

The purposes of this research were: 1) to study the development of the community forest along the Chi River in the Ban Maracommunity; 2) to study the local cultural knowledge in conserving the community forest; and 3. to apply local cultural knowledge in conserving the community forest of the Ban Mara community of Nong Teng Sub-district, Krasung District, Buriram Province Thailand. Process Participatory Action Research (PAR) The data were collected from the key informants, selected based on their making use of the natural resources of the forest for consumption. The results revealed that there were 5 knowledge areas: 1) knowledge of the development of the community forest along the Chi River; 2) knowledge of the culture in receiving benefit from the community forest; 3) knowledge of the economical culture stemming from the community forest; 4) knowledge of the belief about Pi Poo Ta (ancestor ghost); 5) knowledge of the beliefs self-behavior for making use of the forest. This knowledge was applied to conserve the community forest along the Chi River, which led to regulations regarding the use of the forest, the changes in the behaviors of the villagers that are receiving benefits from the forest, and the building up of the sense of forest conservation. This was done through the activities of tree ordination and planning on 2 August 2016. Further, the findings from conducting the research also will help the villagers understand and be aware of the effect of burning the forest, leading to changes in their thinking in an effort to make the most use of the natural resources of the forest by growing wild bamboo, Siam tulip, wild potato, and so on, along the ridge of crop farms for building up the food base for the community in the future.                    

Keywords: Application, Cultural Tradition, Local Believe, Conserving Community Forest Along

Article Details

How to Cite
Utis Tahom อ. . ท., & Samran Dhurata ส. . ธ. (2016). การประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น ในการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าชุมชนริมลำน้ำชี ของชุมชนบ้านมะระ ตำบลหนองเต็ง อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์. Journal of Social Development and Management Strategy, 18(2), 31–55. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jsd/article/view/70180
Section
บทความวิจัย Research Article