การเกื้อหนุนทางสังคมของผู้สูงอายุในบริบทชุมชนเมือง: กรณีศึกษาชุมชนที่มีพื้นฐานความสัมพันธ์ทางเครือญาติ และชุมชนที่มีพื้นฐานความสัมพันธ์หลากหลาย

Main Article Content

รติพร ถึงฝั่ง Ratiporn Teungfung
สุพรรณี ไชยอำพร Supannee Chaiumporn

Abstract

การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเกื้อหนุนทางสังคมของครอบครัว และชุมชนที่มีต่อผู้สูงอายุในบริบทชุมชนเมือง เปรียบเทียบระหว่างชุมชนที่มีพื้นฐานความสัมพันธ์ทางเครือญาติ และชุมชนที่มีพื้นฐานความสัมพันธ์หลากหลาย โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methodology) การศึกษาในเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากผู้สูงอายุ ในชุมชนที่มีพื้นฐานความสัมพันธ์ทางเครือญาติ และชุมชนที่มีพื้นฐานความสัมพันธ์หลากหลาย จำนวน 288 ราย การศึกษาในส่วนเชิงคุณภาพทำการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 15 ราย รวมทั้งการจัดทำเวทีสนทนากลุ่ม ผลการศึกษาพบว่าระดับการเกื้อหนุนทางสังคมด้านที่พักอาศัยและสิ่งแวดล้อมในชุมชนที่มีความสัมพันธ์หลากหลายต่ำกว่าชุมชนเครือญาติ รูปแบบการเกื้อหนุนทางสังคมที่ผู้สูงอายุได้รับมีความเกี่ยวข้องกับระดับการพัฒนาของชุมชน โดยพบว่าชุมชนทั้ง 4 ชุมชนมีระดับการพัฒนาชุมชนที่แตกต่างกัน ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อระดับการพัฒนา คือ ความสามารถของผู้นำชุมชน ในการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน ดังนั้นเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและระดับการพัฒนาชุมชนให้ดีขึ้นควรส่งเสริมบทบาทของผู้นำชุมชน รวมทั้งการสร้างผู้นำชุมชนรุ่นใหม่จากผู้นำเยาวชน เพื่อวางรากฐานให้เป็นผู้นำชุมชนที่เข้มแข็งในอนาคต


 


This research aims to study social support for the elderly by families and communities in the urban areas a comparison between kinship communities and multiple social relationship communitiesby using the mixed methodology. Quantitative research, 288 respondents were elderly who live in two types of communities: kinship and multiple social relationship communities. Qualitative research is composed of 15 in-depth interviewcases and key informants focus group. In terms of social support, the findings indicated that the elderly in multiple social relationship community had a lower housing and environmental support than the elderly in kinship communities. In addition, the study found that there were differences in the level of the community development. The important factors were the community’s leader and the social participation among the community’s members. Therefore, in order to improve quality of life for the elderly, the supporter should enhance the role of community leader and create a new generation of community leaders for making a strong foundation for the elderlycommunities in the future.

Article Details

How to Cite
Ratiporn Teungfung ร. ถ., & Supannee Chaiumporn ส. ไ. (2017). การเกื้อหนุนทางสังคมของผู้สูงอายุในบริบทชุมชนเมือง: กรณีศึกษาชุมชนที่มีพื้นฐานความสัมพันธ์ทางเครือญาติ และชุมชนที่มีพื้นฐานความสัมพันธ์หลากหลาย. Journal of Social Development and Management Strategy, 19(2). Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jsd/article/view/100896
Section
บทความวิจัย Research Article