คุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน

ผู้แต่ง

  • ดร.จักรี ศรีจารุเมธีญาณ มมร.อส.

คำสำคัญ:

คำสำคัญ : คุณธรรมจริยธรรม, นักศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน 2) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะต่อคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ประชากร โดยประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้คือนักศึกษาระดับปริญญาภาคปกติ ของมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวนทั้งสิ้น  617 รูป/คน โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่ได้จากประชากรแยกตามคณะต่างๆ จากการเปิดตารางสำเร็จรูปในการคำนวณกลุ่มตัวอย่างของทาโร่ ยามาเน่ (Yamane, 1967) รวม 3 คณะ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 243 รูป/คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

             ผลการวิจัย พบว่า

  1. 1. ผลการศึกษาคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน  ในภาพรวมทั้ง 7 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความมีวินัย 2) ด้านความรับผิดชอบ 3) ด้านความซื่อสัตย์สุจริต 4) ด้านความเสียสละ 5) ด้านการเป็นแบบอย่างที่ดี 6) ด้านการเข้าใจผู้อื่น 7) ด้านการเข้าใจโลก พบว่า ในภาพรวมนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  วิทยาเขตอีสาน ได้มีคุณธรรมจริยธรรมในระดับมาก โดยเฉพาะในด้านการเข้าใจผู้อื่น ด้านความซื่อสัตย์สุจริต การเข้าใจโลก การเป็นแบบอย่างที่ดี ด้านความรับผิดชอบ และด้านความมีวินัย ตามลำดับ

          2. ผลการศึกษาข้อเสนอแนะต่อคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  วิทยาเขตอีสาน พบว่า ข้อเสนอแนะต่อคุณธรรมธรรมจริยธรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน 1) ด้านความมีวินัยที่มีความถี่สูงสุดคือ ควรมีวินัยด้วยการเคารพกฎหมาย 2) ด้านความรับผิดชอบที่มีความถี่สูงสุดคือ มีความกระตือรือร้นในหน้าที่ตามความรับผิดชอบ 3) ด้านความซื่อสัตย์สุจริตที่มีความถี่สูงสุดคือมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น 4) ด้านความเสียสละที่มีความถี่สูงสุดคือ รู้จักแบ่งปันมีน้ำใจไมตรีต่อกัน 5) ด้านการเป็นแบบอย่างที่ดีที่มีความถี่สูงสุดคือ แต่งกายด้วยความเหมาะสม 6) ด้านการเข้าใจคนอื่นที่มีความถี่สูงสุดคือ ยอมรับและรับฟังเสียงส่วนใหญ่  7) ด้านการเข้าใจโลกที่มีความถี่สูงสุดคือ ปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ ครั้งที่ 3.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กรมวิชาการ. (2544). แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของเยาวชนด้านจริยธรรม. กรุงเทพมหานคร
: โรงพิมพ์กรมศาสนา
ชุษณา ก้อนจันเทศ. (2561). ความเข้าใจผู้อื่น. สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2561. จาก
https://pirun.ku.ac.th
ดลใจ ถาวรวงศ์ ตันเจริญ และจันทร์ชลี มาพุทธ. (2552). กระบวนการขัดเกลาทางสังคมที่มีผลต่อ คุณธรรมจริยธรรมของ เยาวชนต้นแบบ จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารการศึกษาและ พัฒนา
สังคม5,1-2: 21-34.
นภดล เทียนเพิ่มพูน. (2546). การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมสำหรับนักเรียนนายร้อยตำรวจ.
วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยาชภัฏนครปฐม.
บูรชัย ศิริมหาสาคร. (2546). เทคนิคการจัดการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึง
ประสงค์. กรุงเทพมหานคร : บุ๊ค พอยท์.
ฝ่ายทะเบียนและวัดผล. (2561). ข้อมูลนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน,
ประจำภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561. ข้อมูล ณ วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2561.
รันตากร วงค์ศรี นันทกา โกมลเสน และรุ่งฤดี พรหมแก้วงาม. (2550). การพัฒนาคุณธรรม
จริยธรรมนักเรียน นักศึกษาโรงเรียนลำปางพาณิชยการและเทคโนโลยีจังหวัดลำปาง. รายงานการวิจัยโรงเรียนลำปางพาณิชยการและเทคโนโลยีจังหวัดลำปาง.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552 และแนวทางการปฏิบัติ. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2561. จาก http://www.mua.go.th/users/tqf-hed/.
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2561). ความเสียสละ. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2561. จาก http://www.onab.go.th/index.php?option=com_content&view=articlc&id.
Huitt, W.G. Moral and chaeacter development. Valdosta State University.
Yamane. (1967). Taro Statistic : An Introductory Analysis. New York: Harper &row.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2019-06-30