การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561

ผู้แต่ง

  • ศุภศักดิ์ บุญญะสุต มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของประชาชน, การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

บทคัดย่อ

พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 ได้ให้คำนิยามเฉพาะการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเท่านั้น และในส่วนที่ 4 การจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ไม่ได้ระบุว่าให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพก่อนการดำเนินงานในโครงการของภาครัฐ ทั้งนี้ควรเพิ่มเติมบทบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการประเมินผลกระทบสุขภาพก่อนการดำเนินการโครงการหรือกิจการของรัฐหรือที่รัฐจะอนุญาตให้ผู้ใดดำเนินการเพื่อให้มีความชัดเจนมากขึ้น โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพครบทุกขั้นตอน และในหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นการกำหนดระยะเวลาที่สั้นมาก อันเป็นจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน ควรขยายระยะเวลาในการเปิดเผยข้อมูลเอกสารโครงการ ร่างข้อเสนอและการนำเสนอแนวทางในการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพในการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และควรแบ่งประเภทโครงการในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพเพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมทุกโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

หนังสือ
ถวิลวดี บุรีกุลและคณะ. (2557). คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม.
เครือข่ายธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม.
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และคณะ. (2554). การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ.
พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บริษัท เอ.พี.กราฟฟิค ดีไซน์และการพิมพ์ จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) (2552). หลักเกณฑ์และวิธีการ ประเมินผลกระทบด้าน
สุขภาพ ที่เกิดจากนโยบายสาธารณะ. กรุงเทพ : วนิดาการพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.). (2560). หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลกระทบด้าน
สุขภาพ ที่เกิดจากนโยบายสาธารณะ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2559. กรุงเทพ: บริษัทสำนักพิมพ์สุภา จำกัด.
อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์. (2556).กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม.กรุงเทพ: วิญญูชน.

วารสาร/บทความ
จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (2555). การวิเคราะห์หลักการมีส่วนร่วมของประชาชนใน “The Public Participation
Handbook: Making Better Decisions through Citizen Involvement” ในบริบทประเทศไทย. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม ปีที่ 8 ฉบับ ที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน), หน้า 132-135.
สัญชัย สูติพันธ์วิหาร. (2558). การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA) ภายใต้รัฐธรรมนูญและกฎหมายที่
เกี่ยวข้อง. เอกสารประชุมวิชาการการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ ประจำปี พ.ศ.2557 ณ โรงแรมเอเชีย วันที่ 26-27 มกราคม, กรุงเทพมหานคร.
ภาษาอังกฤษ
Montes,J. (2008). Community Environmental Assessment in Rural Kenya: Decision Making
for the Future. Winnipeg: Natural Resources Institute, University of Manitoba.
WHO/UNICEF. (1978). Report of the International Conference on Primary Health Care.
New York.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-30