Factors Affecting the Success of the Implementation of against Transnational Crime Policy : A Case study of Don Muang International Airport

ผู้แต่ง

  • ศรีสกุล เจริญศรี มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จ, การนำนโยบายป้องกันปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติไปปฏิบัติ, ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานกรุงเทพ

บทคัดย่อ

        การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความสำเร็จในการนำนโยบายป้องกันปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติไปปฏิบัติ 2) เปรียบเทียบความสำเร็จในการนำนโยบายป้องกันปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติไปปฏิบัติ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายป้องกันปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติไปปฏิบัติ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เจ้าหน้าที่ตำรวจด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานกรุงเทพ จำนวน 200 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์สำเร็จรูป ด้วยสถิติเชิงพรรณนา คำนวณหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานสำหรับทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบลำดับขั้นตอน กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับ .05      

          ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความสำเร็จในการนำนโยบายป้องกันปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติไปปฏิบัติของด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานกรุงเทพ อยู่ในระดับสูงทั้งในภาพรวมและรายด้าน  2) เจ้าหน้าที่ตำรวจด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานกรุงเทพ ที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา อายุราชการ ระดับชั้นยศ และแผนกงาน แตกต่างกัน มีความสำเร็จในการนำนโยบายป้องกันปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติไปปฏิบัติไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ  3) ปัจจัยการนำนโยบายไปปฏิบัติ ซึ่งประกอบด้วย ปัจจัยด้านการติดตามประเมินผล ด้านกระบวนการติดต่อสื่อสาร ด้านความชัดเจนของนโยบาย ด้านสมรรถนะของหน่วยงาน และด้านความร่วมมือของเจ้าหน้าที่ ตามลำดับ มีความสามารถร่วมกันทำนายความสำเร็จในการนำนโยบายป้องกันปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติไปปฏิบัติ ของด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานกรุงเทพ โดยมีค่าอำนาจการ ทำนายร่วม ร้อยละ 83.5 (F=101.15, p<.01) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

References

กล้า ทองขาว. (2548). การนำนโยบายและแผนการศึกษาไปปฏิบัติ : แนวคิด ทฤษฎี และแนวทาง การดำเนินงาน. โครงการส่งเสริมการแต่งตำรา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นนทบุรี
สำนักพิมพ์สุโขทัยธรรมาธิราช.
ชิตพล กาญจนกิจ. (2559). ความท้าทายของรัฐอาเซียนในการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ. บทความวิชาการ วารสารสังคมศาสตร์ ปีที่ 46 ฉบับที่ 1 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บริษัทท่าอากาศยานไทย (มหาชน).(2560). สถิติขนส่งทางอากาศ 2017. สืบค้นจาก https://airportthai.co.th/ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2561.
วรเดช จันทรศร. (2543). การนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : บริษัทสหายบล็อคและการพิมพ์ จำกัด.
-------------------. (2551). ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สักกรินทร์ นิยมศิลป์. (2558). อาชญากรรมข้ามชาติ: ภัยคุกคามไทยและอาเซียน.บทความวิชาการในหนังสือความหลากหลายทางประชากรและสังคมในประเทศไทย ณ ปี 2558 การประชุม
วิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 11, มหาวิทยาลัยมหิดล.
สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง.(2560). สถิติการเดินทางเข้า-ออกราชอาณาจักร ปี พ.ศ.2560. https://www.immigration.go.th/immigration_stats เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2561
อุดมศรี ฉายาลักษณ์. (2546). การป้องกันอาชญากรรมข้ามชาติ โดยมาตรการตรวจคนเข้าเมือง ศึกษากรณี เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานกรุงเทพ. ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต
(การบริหารงานยุติธรรม), คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Berman, P., McLaughlin, M.W., Ingram, H.M., & Mann, D.E. (1978). The study of macro and
micro-implementation.Public Policy. RAND Review, California.
Van Meter, D. S. & Van Horn, C. E. (1975). The Policy Implementation Process : A Conceptual Framework. Administration and Society, 9 (46).
Yamane, Taro. (1967). Statistic : An Introductory Analysis. New York: Harper &row.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2019-06-30