การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการแก้โจทย์ปัญหา และเจตคติที่มีต่อวิชาวิทยาศาสตร์ โดยวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E) ร่วมกับการเรียนรู้ แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

ผู้แต่ง

  • พชรพร กิจพิบูลย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

สืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลที่เกิดจากการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการแก้โจทย์ปัญหา และเจตคติที่มีต่อวิชาวิทยาศาสตร์ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 10 คน โรงเรียนเกาะข้างวิทยาคม จังหวัดตราด เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD จำนวน 7 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ จำนวน 30 ข้อ แบบวัดทักษะการแก้โจทย์ปัญหา จำนวน 7 ข้อและแบบวัดเจตคติที่มีต่อวิชาวิทยาศาสตร์ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

  1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้7 ขั้น (7E) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และมีคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์มีค่าเท่ากับร้อยละ 48.87 อยู่ในระดับปานกลาง
  2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้7 ขั้น (7E) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD มีทักษะการแก้โจทย์ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนและมีคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์มีค่าเท่ากับ 82.93 คะแนน อยู่ในระดับสูง
  3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้7 ขั้น (7E) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD มีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

        โดยสรุป การจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้7 ขั้น (7E) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีขั้นตอนที่ชัดเจน  มีกระบวนการที่หลากหลาย เน้นให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมร่วมกัน มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อให้ทุกคนบรรลุจุดประสงค์ในการเรียน

References

วุฒิชัย จารุภัทรกูล. (2561). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เจตคติต่อวิชาชีววิทยา และ
พฤติกรรมการทำงานร่วมกันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนการ
สอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E) ร่วมกับการเรียนการสอนแบบร่วมมือเทคนิค STAD.
วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 20(1), 151-163.
สุวิทย์ มูลคำและอรทัย มูลคำ. (2545). 21 วิธีจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาระบบความคิด. กรุงเทพฯ:
ภาพพิมพ์.
หัทยา โรจน์วิรัตน์และคณะ. (2561). ผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) ร่วมกับ
เทคนิค STAD ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อวิชาเคมีของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 20(3), 238-250.
อัศวรัฐ นามะกันคำ. (2550). การเปรียบเทียบความเข้าใจเชิงแนวคิดเรื่องวงจรไฟฟ้ากระแสตรงของ
นักเรียนสายสามัญกับนักเรียนสายอาชีพ. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการสอนฟิสิกส์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
Eisenkraft, A. (2003). Expanding the 5E Model a proposed 7E modal emphasizes transfer of
learning and the importance of eliciting prior understanding. The Science Teacher,
70(6), 56-59
Good, C. V. (1973). Dictionary of education. New York : McGrew-Hill Book.
Kagan, S. (1994). Cooperative Learning. San Juan Capistrano : Resources for Teach.
Saksuparb, K. (2013). Development of an Instructional Model (PECA) with Emphasis on Physics
Problems Solving Ability of Upper Secondary Students. (Master’s thesis).
Sinakharinwirot University, Bangkok.
Slavin, R.E. (1995). Cooperative learning. New York : Longman.
Wonganutrohd, P. (2005). Educational psychology. Bangkok: Bangkok Supplementary. (In Thai)

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2019-06-30