กระบวนการลดต้นทุนค่าขนส่งและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเส้นทางเดินรถแบบมิลค์รัน สำหรับกรณีศึกษา บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์

Authors

  • ฐิติมา วงศ์อินตา สาขาการจัดการโลจิสติกส์ คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ชุติมา หวังรุ่งชัยศรี นิสิต, หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • อนิรุทธ์ ขันธสะอาด มหาวิทยาลัยบูรพา

Keywords:

ตัวแบบปัญหาการเดินของพนักงานขาย, การขนส่งแบบ Milk-Run, วิธีการหาค่าประหยัด, ธุรกิจชิ้นส่วนรถยนต์, โปรแกรมเชิงเส้น, Traveling Salesman Problem, Milk-Run Transportation, Integer Linear Programming, Automotive Parts, Saving Heuristics

Abstract

งานวิจัยนี้นำเสนอการเปรียบเทียบต้นทุนการขนส่งชิ้นส่วนยานยนต์ของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์กรณีศึกษาระหว่างการขนส่งตรงจากโรงงานผู้จัดหาวัตถุดิบ (Suppliers) มายังโรงงานกรณีศึกษาและการจัดการขนส่งในรูปแบบ Milk-run โดยได้ทำการเปรียบเทียบเทคนิคในการจัดเส้นทาง 2 วิธี คือ วิธีการหาค่าประหยัด (Saving algorithm) และตัวแบบปัญหาการเดินทางของพนักงานขาย (Traveling Salesman Problem) ผลการศึกษาพบว่า การจัดรูปแบบการขนส่งตามแนวคิด Milk run มีต้นทุนการขนส่งต่ำกว่าการจัดส่งตรงจากโรงงานผู้จัดหาวัตถุดิบ (Suppliers) โดยที่เมื่อใช้หลักการจัดเส้นทางตามวิธีการหาค่าประหยัด (Saving algorithm) สามารถกำหนดปริมาตรสินค้าที่จะโหลดเข้าตู้คอนเทนเนอร์ได้อย่างเหมาะสมในแต่ละเส้นทาง ในขณะที่การจัดเส้นทางด้วยวิธีตัวแบบปัญหาการเดินทางของพนักงานขายใช้ระยะทางรวมในการขนส่งสั้นกว่าวิธีการหาค่าประหยัด

 

This research demonstrates the most appropriate optimization model, which is minimized the total distance of milk-run routes and transport cost between a number of suppliers and an automotive company case study. There are two interested methods implementing in this case; Saving Heuristics Algorithm, and Traveling Salesman Problem (TSP). As a result, it is revealed that the summary of transportation distances after using the concept of Traveling Salesman Problem is more reduced than implementing with Saving Algorithm meanwhile the total capacity in each container still be the same. Therefore, a total loading weight is not only one factor to subsidize the transportation cost, but it is also considered transportation distance to be another factor. Then, the concept of Traveling Salesman Problem is a useful method for solving a vehicle routing problem in the company case study.

Downloads

Published

2018-05-12

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)