การรุกล้ำความเค็มที่ส่งผลจากการเพิ่มคลองลัดในแม่น้ำท่าจีนตอนล่าง

Authors

  • ณัฐวุฒิ อินทบุตร สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา ศูนย์สุพรรณบุรี คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

Keywords:

การรุกล้ำความเค็ม, การเพิ่มคลองลัด, แม่น้ำท่าจีน, ประสิทธิภาพการระบายน้ำ, Salinity Intrusion, Additional Shortcut Canal, Thachin River, Drainage Efficiency

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่ทำการศึกษาการรุกล้ำความเค็มในแม่น้ำท่าจีนหลังจากกรณีศึกษาการเพิ่มคลองลัดเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในฤดูน้ำหลาก โดยประยุกต์ใช้แบบจำลองการพัดพาและแพร่กระจายในการวิเคราะห์การรุกล้ำความเค็มตามความยาวในลำน้ำ ผลการศึกษาจากแบบจำลองการพัดพาและการแพร่กระจายพบว่าแม่น้ำท่าจีนมีค่าสัมประสิทธิ์การแพร่กระจายเท่ากับ 400 ตารางเมตรต่อวินาที และจากกรณีศึกษาการเพิ่มคลองลัดจะส่งผลให้ความเค็มรุกเข้าไปในลำน้ำได้ไกลขึ้นกว่าเดิม และเพิ่มมากขึ้นในบริเวณตำแหน่งเดียวกัน การรุกล้ำความเค็มนี้มีมากในช่วงฤดูแล้งประมาณเดือนมกราคมถึงพฤษภาคมของทุกปี เพราะน้ำในแม่น้ำมีปริมาณน้อย ผลการศึกษาดังกล่าวสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการกำหนดมาตรการ และบริหารจัดการในการป้องกันผลกระทบในการรุกล้ำความเค็มของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในอนาคตต่อไปได้

 

THE SALINITY INTRUSION EFFECTED FROM ADDITIONAL SHORTCUT CANAL IN THE LOWER THACHIN RIVER

This research was aimed to study the salinity intrusion in the Thachin River after case study of adding shortcut canal to increase the drainage efficiency during the flood season. The study was applied the advection and dispersion model in analyzing of salinity intrusion along the length of the river. The result of advection-dispersion model showed that the diffusion coefficient calibrated was 400 square meters per second. The case study of the additional shortcut canal would result of salinity intrusion in the river was father than the former and increasingly in the same position. The salinity intrusion has very high in during the dry season from January to May every year because of the river has the low flow. Therefore, the results of this study can be applied to determine the measures and managed to prevent the salinity intrusion of the relevant agencies in the future.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)