ผลของโปรแกรมการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ ต่อพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลเด็กสมองพิการ

Main Article Content

ดวงใจ สนิท
อาภาวรรณ หนูคง
ทัศนี ประสบกิตติคุณ
อรุณรัตน์ ศรีจันทรนิตย ศรีจันทรนิตย

Abstract

การศึกษานี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่ม วัดผลก่อนและหลังการศึกษา เพื่อศึกษา ผลของโปรแกรมการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแล เด็กสมองพิการ โดยใช้การพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎี ทางการพยาบาลของโอเร็ม (Orem, 2001) เป็นกรอบแนวคิดในการดeเนินการวิจัย กิจกรรม ประกอบด้วย การสอน การชี้แนะ การสนับสนุน และการจัดสิ่งแวดล้อม ในการดูแลเพื่อป้องกัน โรคปอดอักเสบ ร่วมกับการนeบางส่วนของการเคลื่อนไหวแบบโดสะโฮมาใช้ในการส่งเสริมความ แข็งแรงของกล้ามเนื้อและการป้องกันข้อติดแข็ง โปรแกรมดeเนินการโดย การสอน เป็นรายบุคคล การสาธิต และการสาธิตย้อนกลับ การติดตามเยี่ยมบ้าน และการโทรศัพท์ ติดตามเยี่ยม ระยะเวลารวม 3 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการเลือกแบบสะดวก เป็นผู้ดูแล เด็กสมองพิการที่มีอายุตั้งแต่ 6 เดือน - 14 ปี ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแบบผู้ป่วยใน โรงพยาบาลระยอง จังหวัดระยอง มีประสบการณ์ในการดูแลเด็กสมองพิการอย่างน้อย1 เดือน จeนวน 12 ราย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ดูแลและ เด็กสมองพิการ แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลเด็กสมองพิการ ในด้านการดูแล เพื่อส่งเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและการป้องกันข้อติดแข็ง และการดูแลเพื่อป้องกัน โรคปอดอักเสบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบค่า Z (Wilcoxon matched-pairs signed ranks test) ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการทดลองผู้ดูแลที่ได้รับโปรแกรมการพยาบาลระบบสนับสนุน และให้ความรู้มีคะแนนพฤติกรรมการดูแลเด็กสมองพิการสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัย สeคัญทางสถิติ (z = 3.061, p = .002) ผลการศึกษาสนับสนุนประสิทธิผลของโปรแกรม จึงควร ส่งเสริมการนำโปรแกรมการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติ การพยาบาลเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลให้กับผู้ดูแลเด็กสมองพิการต่อไป

Abstract This study was a quasi-experimental research, one group pretest, posttest design to study the effect of a supportive-educative nursing program on the caring behaviors among caregivers of children with cerebral palsy. This researcher used supportive-educative nursing method, which is a part of Nursing Theory of Orem (Orem, 2001) as a conceptual framework, to promote the behaviors of caregivers of children with cerebral palsy in an effort to prevent pneumonia through the following: Teaching, Guiding, Supporting and Providing a developmental environment in conjunction in areas of the psychological rehabilitation’s Dohsa-hou method, which promote the strengthening of muscles and prevention the stiffness of joints. This program included individual teaching, demonstration, return demonstration, home visits and telephone follow up home visit over a total of 3 weeks duration. The sample groups were derived from convenience sampling and 12 caregivers of children with cerebral palsy aged from 6 months to 14 years; treated as inpatients in the Rayong Hospital, Rayong Province; and having at least 1 month experiences in care to children with cerebral palsy. The data were collected by interviewing and observation. The interviews of the caregivers of children with cerebral palsy were divided into care behaviors of the caregivers of children with cerebral palsy to build the strengthening of muscles; the stiffness of joints; and prevent pneumonia. The data analysis was conducted by using the descriptive statistics and Z-test (Wilcoxon matched-pairs signed ranks test). The results of the study showed, after the experiment, the caregivers receiving the supportive-educative nursing programs indicated behaviors with higher score of care of children with cerebral palsy not receiving the program at the statistical significance (z = 3.061, p = .002). These results promoted the effectiveness of the program and should be able to apply in promoting caring behaviors among of children with cerebral palsy.

Article Details

How to Cite
สนิท ด., หนูคง อ., ประสบกิตติคุณ ท., & ศรีจันทรนิตย อ. ศ. (2016). ผลของโปรแกรมการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ ต่อพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลเด็กสมองพิการ. Kuakarun Journal of Nursing, 22(1), 60–81. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kcn/article/view/46849
Section
Research Articles