ผลของการใช้รูปแบบการพยาบาลเจ้าของไข้ที่บูรณาการแนวคิด การสนับสนุนทางสังคมต่อประสบการณ์การคลอด ตามการรับรู้ของหญิงในระยะคลอด* Effect of the Use of Primary Nursing Model That Integrates Social Support Concept on Birth Experience Perceived by Women during De

Main Article Content

สมปอง ศรีอุไร
รัชนีภรณ์ ทรัพย์กรานนท์
พวงรัตน์ บุญญานุรักษ์
อาภา หวังสุขไพศาล

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการใช้รูปแบบพยาบาลเจ้าของไข้ที่บูรณาการแนวคิดการสนับสนุนทางสังคมต่อประสบการณ์การคลอด ตามการรับรู้ของหญิงในระยะคลอด และกลุ่มที่ใช้รูปแบบการพยาบาลตามหน้าที่ กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงในระยะคลอดที่มารับบริการคลอดในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม จำนวน 10 คน และกลุ่มทดลองจำนวน 10 คน กลุ่มทดลองได้รับการดูแลด้วยรูปแบบการพยาบาลเจ้าของไข้ที่บูรณาการแนวคิดการสนับสนุนทางสังคม ของ Weiss และกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลด้วยรูปแบบการพยาบาลตามหน้าที่ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ รูปแบบการพยาบาลเจ้าของไข้ที่บูรณาการแนวคิดการสนับสนุนทางสังคม เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและแบบสอบถามการรับรู้ประสบการณ์การคลอดตามการรับรู้ของหญิงในระยะคลอด ที่มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .85 และมีค่าความเที่ยงด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้เท่ากับ .94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้สถิติ Mann - Whitney U test ในการเปรียบเทียบก่อนและหลังการใช้รูปแบบของกลุ่มทดลอง กับการใช้รูปแบบของทั้ง 2 กลุ่มหลังการทดลองด้วยสถิติ Wilcoxon Signed Ranks test                                                                                       ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้                                                                            1. ค่าเฉลี่ยของคะแนนการรับรู้ประสบการณ์การคลอด ของกลุ่มทดลองที่ได้รับรูปแบบการพยาบาลเจ้าของไข้ที่บูรณาการแนวคิดการสนับสนุนทางสังคม สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับรูปแบบการพยาบาลตามหน้าที่ ทั้งโดยรวมและรายด้านทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05                              2. ค่าเฉลี่ยของคะแนนประสบการณ์การคลอดตามการรับรู้ของหญิงในระยะคลอดหลังการได้รับรูปแบบการพยาบาลเจ้าของไข้ที่บูรณาการแนวคิดการสนับสนุนทางสังคมสูงกว่าก่อนการได้รับรูปแบบการพยาบาลเจ้าของไข้ที่บูรณาการแนวคิดการสนับสนุนทางสังคม ทั้งโดยรวม และรายด้านทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Effect of the Use of Primary Nursing Model That Integrates Social Support Concept on Birth Experience Perceived by Women during Delivery

The purpose of this quasi-experiment research was aimed to study the effect
of the use of primary nursing model that integrates Weiss’s social support concept and the group that used functional nursing. The samples were 20 women during delivery divided into 10 women in experimental group and in control group. The personal questions and perceived birth experience questionnaires were used to collect data before and after experimentation from both groups of the sample. The instruments were tested for content validity by 5 experts which indicated with .85 content validity index (CVI) and the coefficient alpha of Cronbachwas 0.94. An analysis was carried out using Wilcoxon-signed ranks test and Mann-Whitney U test in order to compare mean scores on the birth experience perceived by women during delivery of the control group and the experimental group for the comparison in the experimental group and between experimental and control group respectively. Results were summarized as follows: 1. Birth experience perceived by women during delivery who received a Primary Nursing Model that integrated social support concept in the experimental group was higher than those women during delivery who received a Functional Nursing Model. Both overall and each aspect, were statistically significant different at the level 0.05. 2. Birth experience perceived by women during delivery who received a Primary Nursing Model that integrated with social support concept in the experimental group was higher than that of experience with before using with statistically significant different at the level 0.05.


Article Details

How to Cite
ศรีอุไร ส., ทรัพย์กรานนท์ ร., บุญญานุรักษ์ พ., & หวังสุขไพศาล อ. (2016). ผลของการใช้รูปแบบการพยาบาลเจ้าของไข้ที่บูรณาการแนวคิด การสนับสนุนทางสังคมต่อประสบการณ์การคลอด ตามการรับรู้ของหญิงในระยะคลอด* Effect of the Use of Primary Nursing Model That Integrates Social Support Concept on Birth Experience Perceived by Women during De. Kuakarun Journal of Nursing, 23(1), 21–40. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kcn/article/view/62040
Section
Research Articles