แรงจูงใจที่มีผลต่อสมรรถนะประจำกลุ่มงานของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • ศันสนีย์ วงค์ม่วย
  • วิทัศน์ จันทรโพธิ์ศรี

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, สมรรถนะประจำกลุ่มงาน, นักวิชาการสาธารณสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจที่มีผล
ต่อสมรรถนะประจำกลุ่มงานของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
จังหวัดเพชรบูรณ์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากประชากร 128 คน ตรวจสอบความตรงตาม
เนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และตรวจสอบความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาช 0.95 ระหว่าง
วันที่ 1 พฤศจิกายน 2555 - 3 พฤษภาคม 2556 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปโดยใช้
สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอย
พหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า ภาพรวมของแรงจูงใจ อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.68 (S.D.= 0.33) แรงจูงใจ
ด้านปัจจัยจูงใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.82 (S.D.= 0.34) แรงจูงใจด้านปัจจัยค้ำจุนอยู่ในระดับปานกลาง
ค่าเฉลี่ย 3.54 (S.D.= 0.44) และภาพรวมสมรรถนะประจำกลุ่มงานอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.77 (S.D.=
0.45) โดยแรงจูงใจมีความสัมพันธ์ระดับปานกลางทางบวกกับสมรรถนะประจำกลุ่มงานของนักวิชาการ
สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเพชรบูรณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
(r=0.47, p-value<0.001) และแรงจูงใจที่สามารถร่วมกันพยากรณ์สมรรถนะประจำกลุ่มงานของนักวิชาการ
สาธารณสุข ได้แก่ ปัจจัยจูงใจด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งงาน ปัจจัยจูงใจด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ ปัจจัย
ค้ำจุนด้านชีวิตความเป็นอยู่ส่วนตัว และปัจจัยจูงใจด้านความสำเร็จในการทำงาน ได้ร้อยละ 32.9
ปัญหาอุปสรรคที่พบส่วนใหญ่คือ แรงจูงใจด้านปัจจัยจูงใจ ร้อยละ 32.7 รองลงมาคือ สมรรถนะ
ประจำกลุ่มงานด้านการพัฒนาศักยภาพคน ร้อยละ 26.9

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-03