การดื่มกาแฟหรือชากับการตายด้วยโรคเบาหวาน: การศึกษาระยะยาวไปข้างหน้า จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • จิรวุฒิ กุจะพันธ์
  • สุพรรณี พรหมเทศ
  • ศิริพร คำสะอาด
  • กฤติกา สุวรรณรุ่งเรือง
  • สุรพล เวียงนนท์

คำสำคัญ:

กาแฟหรือชา, การตาย, โรคเบาหวาน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบไปข้างหน้า (Prospective Cohort study) มี
วัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการดื่มกาแฟหรือชากับการตายด้วยโรคเบาหวาน โดยใช้ข้อมูลจาก
โครงการศึกษาระยะยาวไปข้างหน้า จังหวัดขอนแก่น (The Khon Kaen Cohort Study, KKCS) กลุ่ม
ตัวอย่างที่ศึกษา คือคนที่เข้าร่วมโครงการ KKCS อายุระหว่าง 30 ถึง 69 ปี มีสุขภาพดี โครงการดำเนินการ
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 จนถึงปี พ.ศ. 2544 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ และติดตามสถานะสุดท้ายของ
การมีชีวิตตั้งแต่เข้าร่วมโครงการจนถึง 16 มีนาคม พ.ศ. 2555 ข้อมูลการตายมาจากฐานข้อมูลของสำนัก
นโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงมหาดไทย วิเคราะห์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการดื่มกาแฟหรือชากับ
การตายด้วยโรคเบาหวาน ด้วยสถิติ A Cox proportional hazard model ผลการวิจัย พบว่า จากจำนวน
ตัวอย่างทั้งหมด 13,232 ราย ตายด้วยโรคเบาหวานไม่มีภาวะแทรกซ้อนทั้งสิ้น 251 ราย เพศหญิง 163 ราย
เพศชาย 88 ราย คิดเป็น อัตราตาย 145.1 ต่อ 100,000 คนต่อปี โดยกลุ่มที่ดื่มกาแฟหรือชามีโอกาสเสี่ยงต่อ
การตายด้วยโรคเบาหวานเป็น 1.83 เท่า (95% CI: 1.39 ถึง 2.40 เท่า) ของกลุ่มที่ไม่ดื่มกาแฟหรือชา เมื่อ
ควบคุมผลกระทบจากเพศ อายุ สถานภาพการสมรส การสูบบุหรี่ และการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ จาก
ผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าเพื่อลดโอกาสการตายด้วยโรคเบาหวาน จึงควรหลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟหรือชา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-03