สภาพแวดล้อมและความปลอดภัยของสนามเด็กเล่นในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและโรงเรียนประถมศึกษา อําเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • ประวัตร์ จันเทพ
  • กาญจนา นาถะพินธุ

คำสำคัญ:

สภาพแวดล้อมและความปลอดภัย, สนามเด็กเล่น

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อม ความ
ปลอดภัยของเครื่องเล่นสนาม และพฤติกรรมการเล่นที่ไม่ปลอดภัยของเด็กในสนามเด็กเล่นของ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและโรงเรียนระดับประถมศึกษาในพื้นที่
อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย จำนวน 22 แห่ง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ครูพี่เลี้ยงหรือครู
อนามัยโรงเรียน แบบสำรวจสนามเด็กเล่นและอุปกรณ์เครื่องเล่นสนาม และแบบสังเกตพฤติกรรม
การเล่นของเด็ก ระยะเวลาในการศึกษา เดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ผลการศึกษา
พบว่า การจัดสภาพแวดล้อมในสนามเด็กเล่นของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนประถมศึกษามี
การจัดวางอุปกรณ์เครื่องเล่นสนามใกล้กัน มีพื้นที่การตกรอบเครื่องเล่นสนามไม่ปลอดภัยร้อยละ
95.5 สนามเด็กเล่นของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีเครื่องเล่นสนามที่ไม่เหมาะสมกับพัฒนาการของ
ร่างกายของเด็กร้อยละ 22.2 ได้แก่ ราวโค้ง ราวโหน หรือห่วงโหน เนื่องจากร่างกายช่วงบนของเด็ก
ยังไม่แข็งแรงอาจตกลงมาได้ สนามเด็กเล่นมีพื้นผิวรองรับการตกไม่ปลอดภัย ร้อยละ 95.5
ได้แก่ พื้นหินลูกรัง คอนกรีต ทรายที่มีความหนาไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด สนามเด็กเล่นมีการติดตั้ง
เครื่องเล่นสนามที่ไม่ปลอดภัย ร้อยละ 13.6 ได้แก่เครื่องเล่นประเภท ชิงช้า ราวโหน และโดมปี น
ป่ าย ความสูงไม่ปลอดภัย ร้อยละ 9.1 พบที่เครื่องเล่นสนามประเภท กระดานลื่น และโดมปี นป่ าย
มีช่องว่างที่อาจทำให้เท้าติด ร้อยละ 4.5 มีช่องว่างที่อาจทำให้ศีรษะติดค้าง ร้อยละ 22.7 มีบันได
ระยะก้าวของขั้นบันไดมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 18.2 พฤติกรรมการเล่นของเด็กที่ไม่
ปลอดภัย ได้แก่ การแย่งกันปี นขึ้นไปบนเครื่องเล่นสนาม การแกว่งไกวเครื่องเล่นอย่างแรง การ
เล่นเครื่องเล่นสนามที่ไม่ถูกวิธี สนามเด็กเล่นของโรงเรียนประถมศึกษาบางแห่งไม่มีครูดูแลใกล้ชิด
ขณะที่เด็กเล่นในสนามช่วงเวลาเช้าหรือพักกลางวัน ส่วนสนามเด็กเล่นของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีครู
พี่เลี้ยงเฝ้ าดูแลอย่างใกล้ ชิดตลอดเวลา ดังนั้นผู้มีส่วนเกี่ยวข้ องควรเข้ ามาดูแลในการจัด
สภาพแวดล้อมและเครื่องเล่นสนามให้มีความปลอดภัยโดยเฉพาะในเรื่องการจัดวางเครื่องเล่นให้มี
ระยะห่างที่ปลอดภัย การปรับพื้นผิวสนามให้ปลอดภัย การติดตั้งที่ถูกวิธี การซ่อมบำรุงเครื่องเล่น
สนามที่ชำรุด ครูที่ดูแลเด็กควรแนะนำเด็กอย่างสม่ำเสมอถึงวิธีการเล่นเครื่องเล่นสนามอย่างถูกวิธี
และดูแลเด็กอย่างใกล้ชิดขณะที่เด็กกำลังเล่นในสนามเด็กเล่น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-03

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ