การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากกิจกรรมการทำสวนยางพารา ของเกษตรกรสวนยางพารา อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • สุดาพร วงษ์พล
  • อุไรวรรณ อินทร์ม่วง

คำสำคัญ:

เกษตรกรสวนยางพารา, สิ่งคุกคามสุขภาพ, ความเสี่ยง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากกิจกรรมการทำสวนยางพารา
ของเกษตรกรสวนยางพารา อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ใน
เกษตรกรสวนยางพาราจำนวน 114 คน ในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2554
วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า
เกษตรกรสวนยางพารากลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 67.5 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 48.8±11.0 ปี มี
พื้นที่ในการทำสวนยางพารา เฉลี่ย 20.7 ไร่/ครอบครัว การทำสวนยางพาราประกอบด้วย 5
ขั้นตอนคือ การปลูกยาง การกำจัดวัชพืช การใส่ปุ๋ย การกรีดยาง และการผลิตแผ่นยาง ระดับ
ความรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงต่อสุขภาพจากกิจกรรมการทำสวนยางพารา พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ
64.0 มีความรู้ระดับปานกลาง สิ่งคุกคามสุขภาพทางกายภาพ ที่สำคัญคือ ความร้อนจาก
แสงแดดในขั้นตอนการปลูกยาง ทางเคมีคือ กรดฟอร์มิคในขั้นตอนการผลิตแผ่นยาง ทาง
ชีวภาพคือ ยุงและแมลงในขั้นตอนการกรีดยาง ทางการยศาสตร์ คือ การใช้มือและข้อมือทำงาน
ซ้ำๆ ในขั้นตอนการกรีดยาง ผลการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากสิ่งคุกคามทางกายภาพ
พบว่าเกษตรกรมีความเสี่ยงสูงจากการสัมผัสฝุ่นจากปุ๋ยคอกในขั้นตอนการใส่ปุ๋ยทางเคมี พบว่า
เกษตรกรมีความเสี่ยงสูงจากการสัมผัสกรดฟอร์มิคในขั้นตอนการผลิตแผ่นยาง ทางชีวภาพ
พบว่า เกษตรกรมีความเสี่ยงสูงจากการสัมผัสยุงและแมลงในขั้นตอนการผลิตแผ่นยาง ทางการย
ศาสตร์พบว่า เกษตรกรมีความเสี่ยงสูงจากการใช้มือและข้อมือทำงานซ้ำๆ ในขั้นตอนการกรีด
ข้อเสนอแนะในการจัดการความเสี่ยงจากการประชุมกลุ่มเกษตรกรสวนยางพารา ได้แก่ ใน
ขั้นตอนการกรีดยางต้องใช้อุปกรณ์ส่องสว่างที่ให้แสงสว่างอย่างเพียงพอ ควรจัดประชุมให้
ความรู้แก่เกษตรกรสวนยางพารา ในเรื่องการใช้สารเคมีและการยศาสตร์การทำงานในสวน
ยางพารา ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการนำผลการวิจัยที่ได้ไปใช้ จากการประเมินความเสี่ยงต่อ
สุขภาพ พบว่า เกษตรกรมีความเสี่ยงจากแสงสว่างไม่เพียงพอ การสัมผัสกรดฟอร์มิค ยุง/แมลง
และการใช้มือและข้อมือทำงานซ้ำๆอยู่ในระดับสูง ซึ่งเป็นความเสี่ยงสูงต้องได้รับการแก้ไขอย่าง
เร่งด่วน ดังนั้นจึงต้องดำเนินการจัดการความเสี่ยงอย่างเร่งด่วน โดยประยุกต์ใช้แนวทางในการ
ลดและควบคุมความเสี่ยงที่ได้จากการประชุมกลุ่มของเกษตรกรสวนยางพารา หน่วยงานที่
รับผิดชอบเกี่ยวกับการส่งเสริมการทำสวนยางพารา ควรมีการจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้
สารเคมี ให้ความรู้และสร้างความตะหนักในการสวมอุปกณ์ป้ องกันอันตรายส่วนบุคคล จัด
กิจกรรมการออกกำลังกายเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อให้กับกลุ่มเกษตรกรสวนยางพารา และให้
ความรู้เกี่ยวกับการป้ องกันกันและรักษาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกาย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-03

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ