ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป่วยเป็นวัณโรคปอดในผู้ป่วยปอดอักเสบชุมชน ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของจังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • บารเมษฐ์ ภิราล้ำ
  • พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ
  • ปราบดา ประภาศิริ

คำสำคัญ:

ปัจจัยเสี่ยง, วัณโรคปอด, ปอดอักเสบ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวางและการศึกษาแบบ Case-control เพื่อหาความชุกของ
วัณโรคปอดและหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป่ วยเป็ นวัณโรคปอดในผู้ป่ วยปอดอักเสบชุมชน
(Community-acquired pneumonia; CAP) ที่ถูกรับไว้รักษาในโรงพยาบาลของจังหวัดนครพนม ระหว่าง
วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554 โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลในผู้ป่ วย
ที่มีอายุ 15 ปี ขึ้นไป โดยใช้แบบฟอร์มมาตรฐานการเฝ้ าระวังเชิงรุกโรคปอดอักเสบชุมชนของโครงการ
โรคติดเชื้ออุบัติใหม่จังหวัดนครพนมและสัมภาษณ์ผู้ป่ วย CAP จำนวน 400 คน เป็นกลุ่มศึกษา คือ
ผู้ป่ วย CAP ที่ป่ วยเป็นวัณโรคปอด จำนวน 200 คน และกลุ่มควบคุม คือผู้ป่ วย CAP ที่ไม่ป่ วยเป็นวัณ
โรคปอด จำนวน 200 คน ใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานแบบไคสแควร์และการวิเคราะห์แบบ
พหุถดถอยลอจิสติกเพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า มีผู้ป่ วย
CAP ทั้งหมด 10,501 คน เป็นวัณโรคปอดรายใหม่ จำนวน 385 คน คิดเป็นอัตราความชุก 36.66 ต่อ
ผู้ป่ วย CAP 1,000 คน หรือคิดเป็น 3,666 ต่อผู้ป่ วย CAP 100,000 คน มากกว่าความชุกของวัณโรค
ในประชากรทั่วไปของจังหวัดนครพนม 53 เท่า โดยพบความชุกในเพศชายมากกว่าเพศหญิง คิดเป็น
อัตราความชุกของวัณโรค 50.99 ต่อประชากร 1,000 คน มีอัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิง 1.5 กลุ่ม
ศึกษาอายุเฉลี่ย 51.216.5 ปี เป็นเพศชาย ร้อยละ 72.0 กลุ่มควบคุมอายุเฉลี่ย 57.516.7 ปี เป็น
เพศชาย ร้อยละ 56.0 การวิเคราะห์แบบพหุถดถอยลอจิสติกโดยควบคุมตัวแปรกวนเพศและอายุพบว่า
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป่ วยเป็นวัณโรคปอดในผู้ป่ วย CAP อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เคย
ใกล้ชิดผู้ป่ วยวัณโรค (ORadj=9.03; 95% CI=3.29-24.77) การพบแผลโพรงในปอด (ORadj=4.71;
95% CI=1.56-14.14) เคยดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ORadj=3.86; 95% CI=1.86-8.02) ไอเป็น
เลือด (ORadj=3.61; 95% CI=1.12-11.67) หายใจไม่มีเสียงหวีด (ORadj=3.66; 95% CI= 1.81-
7.41) ภาพถ่ายรังสีทรวงอกผิดปกติ (ORadj=2.98; 95% CI=1.73-5.14) ไอมีเสมหะ (ORadj=2.53;
95% CI=1.46-4.38) มีประวัติการเจ็บป่วยร่วมคือ โรคไต (ORadj=0.18; 95% CI=0.05-0.64)
การศึกษาระดับประถมศึกษา (ORadj=0.33; 95% CI=0.15-0.71) และไม่ได้ทำงาน (ORadj R=0.17;
95% CI=0.08-0.38) ความชุกวัณโรคปอดค่อนข้างสูงในผู้ป่ วย CAP ผู้ป่ วยผู้ใหญ่ที่ถูกรับไว้รักษา
ในโรงพยาบาล สำหรับผู้ป่ วย CAP ที่เคยใกล้ชิดกับผู้ป่ วยวัณโรค มีอาการไอมีเสมหะ ไอเป็นเลือดและ
พบแผลโพรงในปอดควรได้รับการตรวจคัดกรองวัณโรคทุกราย และควรมีพัฒนาแบบคัดกรองทาง
คลินิก เพื่อใช้ค้นหาการป่ วยเป็นวัณโรคปอดในผู้ป่ วย CAP เพื่อประโยชน์ในการรักษาและการป้ องกัน
การแพร่กระจายของวัณโรคต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-03