การบริโภคเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ของนักศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • สุวลี โล่วิรกรณ์
  • เบญจา มุกตพันธ์
  • ณิตชาธร ภาโนมัย
  • จิดาภา พลางวัน
  • ศิขิน รัตนทิพย์

คำสำคัญ:

เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ นักศึกษาสาธารณสุข

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันมีเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์จำหน่ายในร้านค้าหลายชนิดทั้งเครื่องดื่มที่ส่งเสริมสุขภาพ โดยตรงและโดยอ้อมและมีการโฆษณาจูงใจมาก วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริโภคเครื่องดื่มที่ไม่มี
แอลกอฮอล์ของนักศึกษาปริญญาตรีวิทยาศาสตรบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในปีการศึกษา 2553 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลเป็นร้อยละ

นักศึกษาที่ให้ข้อมูล จำนวน 241 คน เป็นชายร้อยละ24.9 (60 คน) เป็นหญิงร้อยละ75.1 (181 คน) พบว่านักศึกษาดื่มเครื่องดื่มดังนี้

นักศึกษาดื่มนมและผลิตภัณฑ์ ร้อยละ 97.1 โดยดื่มนิยมนมสด UHT นมเปรี้ยว และโยเกิรต์ ดื่มนมถั่วเหลือง นักศึกษาดื่ม ร้อยละ 80.1 โดยนิยมดื่มนมถั่วเหลืองขวด/กล่อง ดื่มเครื่องดื่มธัญพืช ร้อยละ
26.6 โดยนิยมดื่มนมข้าวโพด ดื่มเครื่องดื่มผัก-ผลไม้ ร้อยละ 74.7 ดื่มเครื่องดื่มสมุนไพร ร้อยละ 48.9 โดยนักศึกษาให้เหตุผลในการดื่มเครื่องดื่มส่งเสริมสุขภาพข้างต้นเพราะมีคุณค่าทางโภชนาการและอร่อย ส่วน
เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนนั้น นักศึกษา ดื่มกาแฟ ร้อยละ 54.8 โดยนิยมดื่มกาแฟชง/กาแฟโบราณ เพราะดื่มแล้วสดชื่น ไม่ง่วง และนักศึกษาดื่มชาร้อยละ 74.7 โดยนิยมดื่มชาเขียว เพราะมีคุณค่าทางโภชนาการและอร่อย

ส่วนเครื่องดื่มช็อคโกแลต นักศึกษาดื่มร้อยละ 74.7 โดยนิยมดื่มไมโล โอวัลตินกล่องเพราะมีคุณค่าทางโภชนาการและอร่อย ดื่มน้ าอัดลมร้อยละ 81.7 โดยนิยมดื่มน้ าอัดลมประเภทน้ าด า เพราะอร่อยและสดชื่น สำหรับเครื่องดื่มชูก าลัง ดื่มร้อยละ 6.2 และดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่ ร้อยละ 18.7 เพราะมีผลดีกับสุขภาพ สดชื่นและบำรุงสมอง ในด้านซุปไก่สกัด พบว่า นักศึกษาดื่มร้อยละ 22.8 และดื่มเครื่องดื่มรังนกร้อยละ 9.2 เพราะมีคุณค่าทางโภชนาการ บำรุงสมองและอร่อย

ดังนั้นในคณะควรมีการส่งเสริมและให้ความรู้และความคุ้มค่าของเครื่องดื่มที่ส่งเสริมสุขภาพในนักศึกษา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-03