ความพึงพอใจของผู้รับบริการรักษาพยาบาลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอนช้าง ปีงบประมาณ 2556

ผู้แต่ง

  • พัทธนันท์ คงทอง
  • เจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุข และคณะ

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจของผู้รับบริการ, ความพึงพอใจกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยสู่การพัฒนางานประจ า (R2R) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ในกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 237 คน สุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ าสุด สถิติเชิงปริมาณ ได้แก่ สถิติ X2-test ค่า odds ratio และช่วงเชื่อมั่น 95% CI ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 72.2 มีอายุตั้งแต่ 19 ถึง 65 ปี กว่าครึ่งมีอายุอยู่ในช่วง 46–60 ปี มีรายได้ตั้งแต่ 2,200 บาท ถึง 35,000 บาท (Median=9,000) มีระดับการศึกษาสูงสุด ระดับประถมศึกษามากที่สุด ร้อยละ 68.0 กว่าร้อยละ 87.6 มีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (UC) ประกอบอาชีพหลักเกษตรกรรมมากที่สุด ร้อยละ 45.5 มีความพึงพอใจต่อการรักษาพยาบาลอยู่ในระดับกลาง และระดับต่ำ โดยเฉพาะด้านการเข้าถึงบริการ ด้านความเป็นส่วนตัวของผู้รับบริการ และด้านคุณภาพการตรวจรักษา กลุ่มตัวอย่างมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับกลาง และระดับต่ำเท่านั้นไม่มีในระดับสูงเพศเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และพบว่ากลุ่มตัวอย่างเพศหญิงมีความพึงมากกว่าเพศชาย 1.18 เท่า (95%CI=0.59-2.45) อายุเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีอายุ 50 ปีขึ้นไปมีความพึงพอใจมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่อายุน้อยกว่า 50 ปี 1.44 เท่า (95% CI=0.77–2.68) ระดับการศึกษาเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ โดยพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่จบการศึกษาสูงกว่าระดับประถมศึกษามีระดับความพึงพอใจมากกว่ากลุ่มที่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา 0.64 เท่า (95% CI=0.31-1.28) อาชีพเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจอย่างไม่มีนัยสำคัญทางและพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ประกอบอาชีพไม่ใช่เกษตรกรรมมีความพึงพอใจมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม 0.81 เท่า (95% CI=0.44–1.52)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-03