ภาวะโภชนาการ พฤติกรรมการบริโภคอาหาร และพฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษา สาขาอาหารและโภชนาการ วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • อินทิรา แก้วมาตร
  • สุวลี โล่วิรกรณ์

คำสำคัญ:

การบริโภคอาหาร, พฤติกกรรมสุขภาพ, นักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบภาวะโภชนาการพฤติกรรมการบริโภคอาหารและพฤติกรรมสุขภาพของ
นักศึกษาสาขาอาหารและโภชนาการ ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น โดยเจาะจง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ นักศึกษา
แผนกอาหารและโภชนาการระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 1-3 จำนวน 198 คน รวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม
วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม STATA เป็นสถิติเชิงพรรณนา การประเมินภาวะโภชนาการวิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูป
INMU Thai growth
ผลการศึกษาพบว่านักศึกษามีการบริโภคอาหาร 3 มื้อต่อวันร้อยละ50.5 โดยอาหารที่บริโภคได้แก่ โจ๊ก/ข้าวต้ม
ร้อยละ18.7 มื้อกลางวันนักศึกษาบริโภคก๋วยเตี๋ยวร้อยละ41.4 ส่วนมื้อเย็นบริโภคอาหารประเภทอาหารตามสั่งร้อยละ49.0นักศึกษา
นิยมดื่มน้ำอัดลมระหว่าง มื้ออาหารร้อยละ42.9 และบริโภคขนมกรุบกรอบร้อยละ36.4 สำหรับพฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษานั้น
นักศึกษาออกกำลังกาย 4 ครั้งต่อสัปดาห์ ระยะเวลา 30 นาที ส่วนการพักผ่อนนอนหลับนักศึกษาใช้เวลาในการพักผ่อนนอนหลับ
7-8 ชั่วโมง ภาวะความเครียดนักศึกษามีภาวะความเครียดเป็นบางครั้งซึ่งเป็นความเครียดที่เกิดปัญหาการสอบ/การเรียน ด้านการ
สูบบุหรี่นักศึกษาส่วนใหญ่ไม่สูบบุหรี่แต่มีนักศึกษาร้อยละ7.1 สูบบุหรี่โดยเฉลี่ย 1 มวนต่อวัน นักศึกษาดื่มชา/กาแฟบางครั้งร้อยละ
44.9 ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์เฉพาะช่วงที่มีงานเลี้ยงสังสรรค์หรือเทศกาลร้อยละ31.3 ส่วนเครื่องดื่มชูกำลัง
นักศึกษาไม่ดื่มร้อยละ 91.4 นักศึกษามีคะแนนความรู้ทางด้านโภชนาการโดยภาพรวมอยู่ในระดับดีที่ค่าเฉลี่ย 8.0 นักศึกษามีค่า
ระดับทัศนคติจัดอยู่ในระดับปานกลาง และดีร้อยละ85.9, 14.1 ตามลำดับ ด้านความถี่ในการบริโภคอาหารนักศึกษาทุกคนบริโภค
ข้าวเจ้านักศึกษาบริโภคผักทุกวันร้อยละ62.1 บริโภคผลไม้สด3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ร้อยละ37.9 นักศึกษาทุกคนรับประทานเนื้อสัตว์
(เนื้อหมู เนื้อวัว และเนื้อไก่)ทุกวัน นักศึกษารับประทานขนมหวาน/อาหารที่ส่วนผสมของกะที 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ร้อยละ29.8 และ
นักศึกษารับประทานจิ้มจุ่มและลาบ/ก้อย 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ร้อยละ50.5 และร้อยละ67.2 ตามลำดับ การประเมินภาวะโภชนาการ
ของนักศึกษาพบว่า นักศึกษามีน้ำหนักตามเกณฑ์อายุร้อยละ 83.3 มีส่วนสูงตามเกณฑ์อายุร้อยละ65.7 และมีน้ำหนักตามเกณฑ์
ส่วนสูง (สมส่วน) ร้อยละ72.7
ดังนั้น ควรจะมีการส่งเสริมให้นักศึกษามีการบริโภคนม ผัก ผลไม้ และตระหนักถึงประโยชน์ของอาหารเช้ารวมทั้งเข้าใจถึง
อันตรายของการสูบบุหรี่ และการดื่มเครื่องดื่มที่ส่วนผสมของแอลกอฮอล์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-11