แรงจูงใจที่มีผลต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ของหัวหน้าสถานีอนามัย จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • วราภรณ์ ชูคันหอม
  • พีระศักดิ์ ศรีฤาชา

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, ธรรมาภิบาลและหัวหน้าสถานีอนามัย

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะส่วนบุคคลและแรงจูงใจที่มีผลต่อ
การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของหัวหน้าสถานีอนามัย จังหวัดขอนแก่น จำนวน 180 คน และผู้ใต้บังคับบัญชา 180 คน
โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ
ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนและPaired Sample t-test
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย ร้อยละ 52.8 อายุเฉลี่ย 44.56 ปี (S.D.=6.70 ปี) รายได้เฉลี่ย 26,885.31 บาท
ต่อเดือน (S.D.=5,603.12 บาท) การศึกษาปริญญาตรีหรือสูงกว่า ร้อยละ 86.1 ระยะเวลาการปฏิบัติงานในตำแหน่งหัวหน้าสถานี
อนามัย ระหว่าง 1-10 ปี มากที่สุด ร้อยละ 57.2 (Med=10 ปี, Min=1 ปี, Max=39 ปี) ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารงานตามหลัก
ธรรมาภิบาลของหัวหน้าสถานีอนามัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ปัจจัยจูงใจในด้านลักษณะของงาน
ด้านความสำเร็จในการทำงาน และด้านความรับผิดชอบ ปัจจัยค้ำจุนในด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และด้านชีวิตความเป็นอยู่
ส่วนตัว และปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคล ในด้านเพศ ซึ่งสามารถร่วมกันพยากรณ์การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของหัวหน้า
สถานีอนามัยได้ร้อยละ 58.9 และคะแนนการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของหัวหน้าสถานีอนามัยแตกต่างจากผู้ใต้บังคับบัญชา
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value<0.001) ระดับแรงจูงใจโดยรวมของหัวหน้าสถานีอนามัย อยู่ในระดับมาก ( X =3.72,
S.D.=0.41) แรงจูงใจรายด้าน เกือบทุกด้านอยู่ในระดับมาก ยกเว้นด้านเงินเดือนและด้านสภาพการปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลาง
( X =3.11, S.D.=0.80 และ X =3.15, S.D.=0.71 ตามลำดับ) ระดับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลโดยรวมของหัวหน้าสถานีอนามัย
อยู่ในระดับมาก ( X =4.04,S.D.=0.44) และระดับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก
ข้อเสนอแนะเห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดระบบการจ่ายค่าตอบแทนให้เหมาะสมกับความรับผิดชอบและภาระงาน
ของหัวหน้าสถานีอนามัย และจัดสวัสดิการหรือประโยชน์เกื้อกูลอื่นๆ ให้เหมาะสมกับตำแหน่งเช่น จัดสรรเงินประจำตำแหน่ง เป็นต้น
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและสำนักงานสาธารณสุขอำเภอควรพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน โดยยึดหลักความสามารถและผลงาน
อย่างโปร่งใสและเป็นธรรม มีการจัดทำแผนอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ระดับสถานีอนามัยและจัดสรรเจ้าหน้าที่ให้สอดคล้องตามความ
จำเป็น ควรเสริมสร้างแรงจูงใจแก่หัวหน้าสถานีอนามัย โดยเฉพาะด้านลักษณะของงาน ด้านความสำเร็จในการทำงาน ด้านความ
รับผิดชอบ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และด้านชีวิตความเป็นอยู่ส่วนตัว สำหรับวิธีการประเมินการบริหารงานตามหลัก
ธรรมาภิบาลควรใช้วิธีการประเมินแบบป้อนกลับจากทุกฝ่ายรอบทิศทาง (360 Degree feedback)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-11