ความเครียด และปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะพยาบาลศาสตร์ และคณะสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาลัยเฉลิมกาญจนา จังหวัดศรีสะเก

ผู้แต่ง

  • จิตนิรันดร์ วงละคร
  • เฉลิมศรี สิงห์ทอง
  • วริศรา ไชยมี
  • สายฝน ใฮกัญญา
  • สายรุ้ง กล้วยทอง

คำสำคัญ:

ความเครียด, ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียด, นักศึกษาระดับปริญญาตรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเครียด และปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดของนักศึกษาระดับปริญญาตรี
คณะพยาบาลศาสตร์ และคณะสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาลัยเฉลิมกาญจนา จังหวัดศรีสะเกษ ประชากร และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน
การศึกษา คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะพยาบาลศาสตร์ และคณะสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาลัยเฉลิมกาจนา จังหวัดศรีสะเกษ
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 รวมทั้งสิ้นจำนวน 322 คน และสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ได้จำนวน
ตัวอย่าง 161 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และร้อยละ
ผลการศึกษา พบว่า ระดับอาการ พฤติกรรม หรือความรู้สึกของกลุ่มตัวอย่าง ในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ( X = 0.83)
โดยเรียงจากค่าเฉลี่ยมากไปหาค่าเฉลี่ยน้อยใน 3 อันดับแรกได้แก่ รู้สึกหงุดหงิด รำคาญใจอยู่ในระดับน้อย ( X = 1.13) นอนไม่
หลับเพราะคิดมากหรือกังวลใจอยู่ในระดับน้อย ( X =1.10) และรู้สึกว่าตนเองไม่มีสมาธิอยู่ในระดับน้อย ( X =1.02) ตามลำดับ
ปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อความเครียดของกลุ่มตัวอย่าง ในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ( X = 2.10) โดยเรียงจากค่าเฉลี่ยมากไป
หาค่าเฉลี่ยน้อย คือ ปัจจัยที่เกิดจากการเรียนเป็นปัจจัยที่มีผลทำให้เกิดความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง ( X = 2.73) ส่วนปัจจัยที่
มีผลทำให้เกิดความเครียดอยู่ในระดับน้อย ได้แก่ ปัจจัยที่เกิดจากครูและวิทยาลัย ( X = 2.32) ปัจจัยที่เกิดจากสังคม ( X = 2.25)
ปัจจัยที่เกิดจากด้านการเงิน ( X = 2.16) ปัจจัยที่เกิดจากชุมชนและสิ่งแวดล้อม ( X = 2.14) ปัจจัยที่เกิดจากตนเอง ( X = 2.06)
ปัจจัยที่เกิดจากเหตุการณ์หรือความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ( X = 1.81) ปัจจัยที่เกิดจากครอบครัว ( X = 1.80) และปัจจัยที่เกิดจาก
เพื่อน ( X = 1.60) ตามลำดับ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-11

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ