การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีกลุ่มเป้ าหมายพื้นที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอนช้าง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • พัทธนันท์ คงทอง
  • วิลาสินี วงษ์กลาง
  • สุพล เซี่ยงใช่
  • สุทธิรักษ์ พลบำรุง
  • ฐิติมา ช่วยพระอินทร์
  • ขวัญตา ดวงกุณา

คำสำคัญ:

การตรวจคัดกรอง, มะเร็งปากมดลูก, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก
ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอนช้าง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างคือ สตรีกลุ่มเป้ าหมายที่อาศัยอยู่ในเขต
พื้นที่ตำบลดอนช้างมีอายุตั้งแต่ 30 – 60 ปี เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบตอบรับการมาตรวจคัดกรองและการใช้กระบวนการกลุ่ม
สุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย ขนาดตัวอย่าง 555 คน วิเคราะห์ข้อมูลกรณีบรรยายข้อมูลแจงนับด้วยการแจกแจงความถี่และร้อยละ
กรณีบรรยายข้อมูลต่อเนื่องด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสูงสุด ต่ำสุด
ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีกลุ่มเป้ าหมายส่วนใหญ่ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแล้วในปี ที่ผ่านมา ในกลุ่มที่มา
ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก จำนวน 160 คนพบว่า ร้อยละ 64.5 มีอายุ 46 – 60 ปี สำหรับสตรีกลุ่มเป้ าหมายที่ไม่มาตรวจคัด
กรองมะเร็งปากมดลูกกับอายุ จำนวน 187 คน มีอายุ 30 - 45 ปี ร้อยละ 64.4 สตรีกลุ่มเป้ าหมายที่มาตรวจคัดกรองมะเร็งปาก
มดลูกผลปกติไม่พบมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 98.1 สตรีกลุ่มเป้ าหมายที่ผลปกติ ไม่พบมะเร็งปากมดลูกแต่พบความผิดปกติอย่าง
อื่นโดยพบ Inflammation ร้อยละ 47.9 เหตุผลที่สตรีกลุ่มเป้ าหมายไม่ยอมมารับบริการ เพราะต้องทำงานประจำ ร้อยละ 32.1
รองลงมา อายเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจ ร้อยละ 26.2 สตรีกลุ่มเป้ าหมายกลุ่มที่ตรวจคัดกรองฯแล้วในปี งบประมาณที่ผ่านมา ตรวจคัดกรอง
ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอนช้างมากที่สุด ร้อยละ 62.5
จากการจัดทำกระบวนการกลุ่ม พบสตรีกลุ่มเป้ าหมายกลุ่มที่ไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและ
กลุ่มที่ทราบถึงอันตรายของมะเร็งปากมดลูก แต่ไม่ยอมตรวจคัดกรองเป็นกลุ่มที่น่าเป็นห่วงต้องเร่งทำความเข้าใจอย่างเร่งด่วน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-11