การรับรู้และการบริโภคอาหารคลีนของนักศึกษาปริญญาตรีระหว่าง กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพกับกลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ปริยากร สงวนกิตติพันธ์
  • สุวลี โล่วิรกรณ์

คำสำคัญ:

การรับรู้, การบริโภคอาหารคลีน, นักศึกษาปริญญาตร

บทคัดย่อ

การบริโภคอาหารคลีน กำลังเป็นที่นิยมและเผยแพร่กันทางอินเตอร์เน็ตเป็นอย่างมาก ซึ่งอินเตอร์เน็ตก็ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการบริโภคของวัยรุ่น การวิจัยในครั้งนี้ ได้ศึกษาการรับรู้และการบริโภคอาหารคลีนในนักศึกษา

ปริญญาตรีคณะสาธารณสุขศาสตร์เปรียบเทียบกับนักศึกษาสาขาการจัดการการโรงแรมและอีเว้นท์ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวนกลุ่มละ 120 คน และทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์และนักศึกษาสาขาการจัดการการโรงแรมฯ บริโภคอาหารคลีน ร้อยละ 17.5 และ 27.5 ตามล าดับ ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับอาหารคลีนจากสื่อสังคมออนไลน์ เช่น facebook, twitter เป็นต้น ร้อยละ 23.4 และ 26.5 ตามลำดับ มีการรับรู้เกี่ยวกับอาหารคลีนทั้ง 4 ด้าน (การรับรู้ความหมายของอาหารคลีน การรับรู้ประโยชน์ของอาหารคลีน การรับรู้ประเภท/ชนิดของอาหารคลีน และการรับรู้อุปสรรคต่อการบริโภคอาหารคลีน) แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value>0.05) โดยมีการระดับรับรู้ความหมายของอาหารคลีน ประโยชน์ของอาหารคลีน และประเภท/ชนิดของอาหารคลีน อยู่ในระดับสูง ทั้งสองคณะ ส่วนการรับรู้อุปสรรคต่อการบริโภคอาหารคลีน อยู่ในระดับปานกลาง ทั้งสองคณะ สัดส่วนการบริโภคอาหารคลีนของนักศึกษาทั้งสองคณะ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยส าคัญทางสถิติ (p-value=0.0636) นักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์ มีความถี่ในการบริโภคอาหารคลีนประเภท/ชนิดต่าง ๆ บ่อยกว่านักศึกษาสาขาการจัดการการโรงแรมและอีเว้นท์ดังนั้นจึงควรศึกษาการส่งเสริมการบริโภคอาหารคลีนหรืออาหารเพื่อสุขภาพในกลุ่มนี้ เพื่อน ามาใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคให้ในดีขึ้น ซึ่งจะช่วยลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ ในอนาคต

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-11