การพัฒนาคุณภาพระบบส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน ระหว่างสถานพยาบาล โรงพยาบาลเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • วาสิทธิ์ นงนุช
  • วิศิษฎ์ ทองคํา
  • วัชระ เอี่ยมรัศมีกุล

คำสำคัญ:

คุณภาพระบบส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน, โรงพยาบาลเชียงขวัญ จังหวัด ร้อยเอ็ด

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อจะศึกษา1) ขั้นตอนการพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน 2) ผลของกระบวนการพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน 3) ปัจจัยความสําเร็จในการพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาลของโรงพยาบาลเชียงขวัญจังหวัดร้อยเอ็ด มีกลุ่มเป้าหมายในการวิจัยจํานวน 30 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการบริหารโรงพยาบาล แพทย์ พยาบาลวิชาชีพเวชกิจฉุกเฉิน ผู้ช่วยเหลือคนไข้และพนักงานขับรถพยาบาล ดําเนินการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อหาแนวปฏิบัติในระบบส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน มีเครื่องมือในการเก็บข้อมูลคือแบบบันทึกที่ได้จากการประชุมและแบบสัมภาษณ์ของบุคลากรผลการวิจัย พบว่า กระบวนการในการพัฒนาคุณภาพระบบส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน ของโรงพยาบาลเชียงขวัญ มีมาตรฐานทั้งหมด12 มาตรฐาน ดังต่อไปนี้1)ความพร้อมของรถพยาบาล 2) ความพร้อมของอุปกรณ์บนรถพยาบาล 3) ความปลอดภัยในระบบส่งต่อและการลดความเสี่ยงระหว่างการส่งต่อ 4) ความพร้อมของบุคลากรส่งต่อ 5) ความครบถ้วนของข้อมูลและเทคโนโลยีในการประสานงาน6) ความพร้อมด้านยาและเวชภัณฑ์ 7) ความครบถ้วนและแนวปฏิบัติของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการส่งต่อ 8) ธรรมาภิบาล9) เคลื่อนย้ายและยึดตรึง 10) ความพร้อมของผู้ป่วยและญาติ 11) ความพร้อมในขณะส่งต่อ 12) คลายความวิตกกังวลของผู้ป่วยและญาติสรุปในการดําเนินการวิจัยมีขั้นตอนการพัฒนางานตามกระบวนการวางแผน (Plan), ปฏิบัติตามแผน (Action), ติดตามผล (Observe), สะท้อนผล(Reflection)หลังจากการดําเนินการวิจัยพบว่า ความไม่เหมาะสมในการส่งต่อลดลง มีแนวทางในระบบส่งต่อที่ชัดเจน บุคลากรมีส่วนร่วมในการดําเนินโครงการพบปัจจัยแห่งความสําเร็จ คือ 1) ผู้บริหารเล็งเห็นถึงความสําคัญและความเป็นน้ําหนึ่งใจเดียวกันของบุคลากร (Command and Community) 2) บุคลากรทุกคนได้เติมเต็มความรู้ใหม่ (Knowledge) 3) ทํางานร่วมกันช่วยเหลือซึ่งกันและกันและการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติเป็นประจําและสม่ําเสมอ (Help and Habituate) สามารถเรียกปัจจัยแห่งความสําเร็จนี้ได้ว่า CKH Model

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-11