การศึกษาการจัดการมูลฝอยที่ประสบความสำเร็จของชุมชนต้นแบบ กรณีศึกษาชุมชนที่ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดชุมชนปลอดขยะ Zero Waste ในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • ปัทมาภรณ์ สุวรรณปักษิน
  • สรัญญา ถี่ป้อม

คำสำคัญ:

Zero Waste, การจัดการมูลฝอย, การมีส่วนร่วมของประชาชน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและวิธีการในการจัดการ
มูลฝอยในแต่ละชุมชนเพื่อศึกษาปัจจัยที่ทำให้การจัดการมูลฝอยประสบความสำเร็จของชุมชนต้นแบบโดย
ทำการศึกษาในชุมชนที่ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ระดับประเทศจากโครงการประกวดชุมชนปลอดขยะของ
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมในเขตเทศบาลนครพิษณุโลกจำนวน 2 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนชาญเวชกิจและ
ชุมชนสระสองห้อง โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประธานชุมชน กลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่มเทศบาล กลุ่ม อสม.
กลุ่มร้านค้าประกอบการ และกลุ่มประชาชนทั้งสิ้นจำนวน 16 คน แบ่งเป็นชุมชนชาญเวชกิจจำนวน 9 คน
ชุมชนสระสองห้องจำนวน 6 คน และเจ้าหน้าที่เทศบาลนครพิษณุโลกจำนวน 1 คน โดยใช้การสัมภาษณ์แบบ
กึ่งโครงสร้างและทำการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
การศึกษาพบว่า รูปแบบและวิธีการในการจัดการมูลฝอยทั้ง 2 ชุมชนมีลักษณะที่คล้ายกัน วิธีการ
จัดการเริ่มจากการคัดแยกขยะการใช้หลัก 3Rs (Reduce, Reuse, Recycle) และเน้นการมีส่วนร่วมของ
ประชาชน ซึ่งพบว่า ปัจจัยหลักที่ส่งผลให้การจัดการประสบความสำเร็จ คือ การมีส่วนร่วมของประชาชนการมี
ผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง และการได้รับเงินสนับสนุนโครงการจากเทศบาลนครพิษณุโลก อย่างไรก็ตามการมีส่วน
ร่วมในการดำเนินงานในปัจจุบันของชุมชนสระสองห้องนั้นลดบทบาทลง ดังนั้น เพื่อให้เกิดการจัดการมูลฝอยที่
ยั่งยืนจึงได้เสนอรูปแบบการจัดการมูลฝอยที่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทุกขั้นตอน ประกอบด้วย
การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจการดำเนินกิจกรรม การรับผลประโยชน์ และการประเมินผล ดังนั้น ผู้สนใจ
สามารถใช้เป็นแนวทางเพื่อบริหารจัดการขยะให้มีประสิทธิภาพในพื้นที่อื่นต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-07-07