ประสิทธิผลของสารสกัดจากดาวเรืองน้อยในการกำจัดเหา

ผู้แต่ง

  • บุญเรือง วงษ์อนันท์
  • เรือน สมณะ
  • ประชุมพร เลาห์ประเสริฐ

คำสำคัญ:

เหา, ดาวเรืองน้อย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของดาวเรืองน้อย (Tagetes patula Linn.)ในการ
กำจัดเหา (Pediculushumanuscapitis) ภายในเวลา 24 ชั่วโมง ด้วยวิธี Contact Method ทำการทดลอง 4 ซ้ำ
(n=100) โดยใช้สารสกัดจากส่วนต่างๆ ของดาวเรืองน้อย ได้แก่ ราก ลำต้น ใบ และดอก ที่สกัดด้วยเอทิลแอลกอฮอล์
95 เปอร์เซ็นต์ ด้วยวิธี Marceration หมักไว้ 7 วัน นำสารสกัดมาหาปริมาณสาร α–terthienyl ที่ได้จากดาวเรือง
น้อยชนิดพืชสดส่วนราก ลำต้น ใบ และดอก พบที่รากมากที่สุดเท่ากับ 7.665 มิลลิกรัมต่อกรัม รองลงมาคือดอก ลำต้น
และใบ มีค่าเท่ากับ 3.278 มิลลิกรัมต่อกรัม, 0.904 มิลลิกรัมต่อกรัม, 0.196 มิลลิกรัมต่อกรัมตามลำดับ สารสกัดจาก
ดาวเรืองน้อยทั้ง 4 ส่วนทำให้เหาตายมากที่สุด คือ สารสกัดจากส่วนรากโดยทำให้เหาตายร้อยละ 60.4 ภายใน
24 ชั่วโมง รองลงมาได้แก่ สารสกัดจากส่วนดอก ส่วนลำต้น และส่วนใบ โดยทำให้เหาตายร้อยละ 44.4, 29.6 และ
27.0 ภายใน 24 ชั่วโมงตามลำดับ ค่ามัธยฐานของความเข้มข้นที่เป็นพิษ (LC50) ของสารสกัดจากส่วนราก ดอก ลำ
ต้น และใบ มีค่าเท่ากับ 0.06247, 0.10506, 0.15811 และ 0.19008 ppm จึงนำสารสกัดส่วนที่ทำให้เหาตายมาก
ที่สุด คือ สารสกัดจากส่วนรากไปทดลองกำจัดเหาในชุมชนและในห้องปฏิบัติการ พบว่า เหาในชุมชนตาย 85 ตัว คิด
เป็นร้อยละ 85.0 ส่วนเหาในห้องปฏิบัติการตาย 81 ตัว คิดเป็นร้อยละ 81.0 ตามลำดับ ภายในเวลา 24 ชั่วโมง สาร
สกัดจากรากดาวเรืองมีผลทำให้เหาตัวเต็มวัยตายแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
จากการทดลองทำให้ทราบว่าสารสกัดจากดาวเรืองน้อย มีประสิทธิภาพในการกำจัดเหาได้ดีที่สุดคือ สาร
สกัดจากส่วนราก จึงควรนำส่วนรากไปใช้ในการกำจัดเหาในเด็กนักเรียนที่มีเหาแทนการใช้สารเคมี

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-07-07