การพัฒนาและประเมินตัวแบบการจัดการตนเอง ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

ผู้แต่ง

  • พาณี วิรัชชกุล
  • ยุทธ ไกยวรรณ์
  • และกอบกุล วิศิษฎ์สรศักดิ์

บทคัดย่อ

โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังซับซ้อนส่งผลกระทบต่อร่างกายมนุษย์ พบในทุกประเทศ และเป็น
ปัญหาสาธารณสุขที่สาคัญของโลก การรักษาโรคเบาหวานโดยอาศัยแพทย์อย่างเดียวไม่เพียงพอ เพราะ
พฤติกรรมของผู้ป่วยที่เป็นสาเหตุทาให้ระดับน้าตาลเพิ่มสูงขึ้นอยู่ตลอดเวลา และเกิดอันตรายจาก
ภาวะแทรกซ้อนทาให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้ สิ่งสาคัญในการควบคุมเบาหวานให้ได้ผลดีคือการปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวแบบ
การจัดการตนเอง 2)ประเมินตัวแบบการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มตัวอย่างระยะที่ 1
เป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดอุทัยธานี ได้แก่โรงพยาบาลอุทัยธานี ศูนย์สุขภาพชุมชนอุทัย
ใหม่และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบล จานวน 4แห่ง จานวน 510 คน กลุ่มตัวอย่างระยะที่ 2 คือผู้ป่วย
เบาหวานชนิดที่ 2 ที่อาศัยอยู่ในอาเภอหนองขาหย่าง จานวน 52 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม
กลุ่มละ 26 คน ระยะเวลาในการทดลอง 9 สัปดาห์เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง(Quasi-experimental research)
ชนิด 2 กลุ่มเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลอง(Two groups pre-post test design) เครื่องมือที่ใช้
รวบรวมข้อมูลและดาเนินการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบทดสอบความรู้เรื่อง
โรคเบาหวาน 3) แบบสอบถามพฤติกรรมการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับการจัดการตนเอง 4) คู่มือการจัดการตนเอง
ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 พร้อม VCD ประกอบ และ 5) แผนการจัดกิจกรรมให้ความรู้และฝึกทักษะ สถิติ
ที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) การวิเคราะห์ตัว
แบบสมการโครงสร้างด้วยโปรแกรมสาเร็จรูปเอมอส (Amos)
ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมด้านความรู้ส่งผลโดยตรงต่อพฤติกรรมด้านเจตคติและการ
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางปัญญา ส่วนพฤติกรรมด้านเจตคติไม่ส่งผลโดยตรงต่อประสิทธิผล การจัดการ
ตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 แต่ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางปัญญา 2) ร้อยละระดับความรู้
เรื่องโรคเบาหวาน การควบคุมอาหาร การออกกาลังกาย การใช้ยา และการคลายเครียด หลังใช้ตัวแบบการ
จัดการจัดการตนเองกลุ่มทดลองมีความรู้มากกว่าก่อนใช้ตัวแบบฯและสูงกว่ากลุ่มควบคุม 3) ค่าเฉลี่ย
พฤติกรรมการปฏิบัติตัวในการจัดการตนเองของกลุ่มทดลองหลังใช้ตัวแบบการจัดการตนเองดีกว่าก่อนใช้ตัว
แบบฯ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิตที่ระดับ.05 ส่วนกลุ่มควบคุมหลังการทดลองไม่แตกต่าง และเมื่อเปรียบเทียบ
กับทั้งสองกลุ่ม กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการปฏิบัติตัวในการจัดการตนเองดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมี
นัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยระดับน้าตาลในเลือดและระดับฮีโมโกลบินเอวันซีหลัง
การใช้ตัวแบบฯดีขึ้นกว่าก่อนใช้ตัวแบบฯ และดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ.05
ผลการวิจัยนี้ การใช้ตัวแบบการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานระยะที่ 2 สามารถช่วยควบคุมระดับ
น้าตาลในเลือด และระดับน้าตาลสะสมดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้มีการนาตัวแบบการจัดการตนเองไปใช้กับ
โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจาตาบลที่มีบริบทใกล้เคียงกัน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-07-07