ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถตนเองร่วมกับ กระบวนการกลุ่มในการส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกายด้วยการรำเซิ้งในผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • จีรณัฐ มานะดี
  • จุฬาภรณ์ โสตะ

บทคัดย่อ

ปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งผู้สูงอายุเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังอันเนื่องมาจาก
พฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง การรำเซิ้งเป็นวัฒนธรรมพื้นบ้านที่สำคัญของชาวอีสาน เป็นกิจกรรมการเข้า
จังหวะที่นำมาประยุกต์ในการออกกำลังกาย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา
ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยการประยุกต์ ใช้ทฤษฎีความสามารถตนเองร่วมกับกระบวนการกลุ่ม
ในการส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกายด้วยการรำเซิ้งในผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ
ระหว่าง 60–69 ปี แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 43 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรม
สุขศึกษาประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การบรรยายให้ความรู้ แจกคู่มือ การอภิปรายกลุ่ม การจัด
กิจกรรมกลุ่ม เสนอตัวแบบจริง สาธิตและฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายด้วยการรำเซิ้ง การแข่งขันการออก
กำลังกายด้วยการรำเซิ้ง ใช้ระยะเวลาดำเนินการ 12 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังทดลองโดยใช้
แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบความแตกต่างด้วยสถิติ Paired
Sample t-test และ Independent t-test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และค่าความเชื่อมั่น
95%CI
ผลการวิจัยพบว่าภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้เกี่ยวกับการออก
กำลังกาย ด้านการรับรู้ความสามารถตนเองในการออกกำลังกาย ด้านความคาดหวังในผลลัพธ์ของการออก
กำลังกาย การปฏิบัติตัวในการออกกำลังกาย สูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) และกลุ่มทดลองมีความพึงพอใจต่อการออกกำลังกายด้วยการรำเซิ้งอยู่
ในระดับสูง จึงควรส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยการรำเซิ้ง โดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถตนเอง
ร่วมกับกระบวนการกลุ่มในผู้สูงอายุ เพื่อการมีสุขภาพที่ดีในชุมชนอื่นๆ ต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-07-07

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ